Page 23 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 23
๔) การประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและ
การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔
ผู้แทนสื่อมวลชน ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับ
สารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
ในการทำาหน้าที่สื่อมวลชนจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนและรอบด้าน เพื่อให้
ประชาชนผู้รับสื่อได้วินิจฉัยและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งหากได้ข้อมูลรอบด้านก็จะทำาให้ประชาชน
สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรอบด้านนั้น
จะต้องปฏิบัติอยู่ภายในกรอบ ๒ ส่วน คือ ๑. กรอบของกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม (ซึ่งรวมถึง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ด้วย) และ ๒. กรอบของจริยธรรม ซึ่งมีการ
กำาหนดจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ เช่น ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรม
แห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานด้านสื่อมวลชนนั้นจะมีทั้งผู้ที่เรียนจบทางด้านสื่อสาร
มวลชนโดยตรงและผู้ที่ไม่ได้เรียนจบทางด้านสื่อสารมวลชน โดยผู้ที่ไม่ได้เรียนจบทางด้านสื่อสารมวลชน
มีบางคนที่พยายามที่จะศึกษาเกี่ยวกับข้อบังคับจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ และบางคนก็ไม่ได้
สนใจในเรื่องนี้ ซึ่งบางคนที่ทราบเกี่ยวกับข้อบังคับฯ แล้ว แต่การกระทำาที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ก็ยังมีปรากฏอยู่
ประเด็นที่ ๑ เหตุผลและความจำาเป็นในการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้
ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ซึ่งพนักงานสอบสวนเป็นผู้แถลงข่าว
โดยอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น เป็นการแถลงผลงาน หรือเป็นการผูกมัดตัวผู้ต้องหาเพื่อเป็นพยาน
ในชั้นศาล หรืออาจเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ตำารวจไม่สามารถหาพยานหลักฐานอื่นมาประกอบเพื่อ
ยืนยันการกระทำาความผิดของผู้ต้องหาได้ เป็นต้น
ประเด็นที่ ๒ ผลกระทบจากการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ในมิติสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม
ซึ่งเห็นว่า ทำาให้เกิดผลกระทบมากมาย เช่น กระทบต่อความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องหา และเป็นการ
กระทำาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙
วรรคสอง และวรรคสาม บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มี
ความผิด ก่อนมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำาความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือน
ผู้กระทำาความผิดมิได้” ซึ่งในบางรายมีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลัง โดยสื่อมวลชนได้ลงข้อความ
ตามที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ตำารวจ ทำาให้ในบางครั้งสื่อมวลชนอาจจะยังไม่ได้มีการตรวจสอบข้อมูล
ดังกล่าว ส่งผลให้สื่อมวลชนถูกฟ้องร้องดำาเนินคดี โดยสื่อมวลชนต้องรับผิดชอบข้อความที่ได้ลงในสื่อ
โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า การกระทำาของเจ้าหน้าที่ตำารวจที่มีการนำาเสนอข้อมูล
ซึ่งอาจทำาให้ผู้ต้องหาได้รับความเสียหายในเรื่องของเกียรติยศ ชื่อเสียง นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๕๗ บัญญัติว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิด
22
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน