Page 19 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 19

จะมีการสืบสวนสอบสวนออกหมายเรียกหรือหมายจับตัวผู้ต้องหา จะต้องมีหลักฐานตามสมควร
                 ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  และประมวลกฎหมายวิธี

                 พิจารณาความอาญา  ดังนั้น ในการดำาเนินงานหากเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
                 อาญาก็ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา เว้นแต่กรณีที่ดำาเนินการไปแล้วพยานหลักฐานไม่เพียงพอ

                 ก็มีความจำาเป็นที่จะต้องนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ เพื่อให้เห็นว่าผู้ต้องหาเต็มใจที่จะนำาชี้
                 ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งส่วนหนึ่งมองว่า  เป็นพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือ

                 เพื่อไปนำาสืบในชั้นศาลและให้ศาลลงโทษได้
                               การนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับเกียรติยศ ชื่อเสียง และ

                 ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล ทั้งตัวผู้ต้องหาและครอบครัว ซึ่งการแถลงข่าวในชั้นสอบสวนในกรณี
                 ที่คดียังไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล  ประเด็นสำาคัญ คือ ในเรื่องของการแถลงข่าวโดยหลักการ

                 จะกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหาและครอบครัว (ทั้งนี้ ไม่รวมถึงคดีเด็กและเยาวชน) ปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร
                 เป็นผลประโยชน์ในการประกอบอาชีพ  ซึ่งการนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไม่ก่อให้เกิด

                 ประโยชน์ในการพิจารณาของศาล  รวมทั้งเป็นการเปิดเผยพยานหลักฐานและเป็นช่องทางในการต่อสู้คดี
                 ดังนั้น จึงไม่สมควรที่จะนำาตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน

                               โดยหลักการจัดทำาแผนประทุษกรรม คือ รายละเอียดการกระทำาความผิดของความผิด
                 แต่ละประเภท เพื่อกำาหนดเกี่ยวกับลักษณะการกระทำาความผิดของกลุ่มผู้ต้องหา และเพื่อความสะดวกใน

                 การสืบสวนสอบสวน ซึ่งการจัดทำาแผนประทุษกรรมจะทำาในทุกคดี ทั้งคดีที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวผู้กระทำาผิด
                 และจะนำาหลักวิชาการที่ได้มาใช้สอนในวิชาการสืบสวนสอบสวนด้วย

                               ส่วนการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ คือ หลังจากที่มีการจับกุมผู้ต้องหา
                 ซึ่งบางครั้งในการนำาสืบในหลายคดีอาจต้องพิจารณาจากแผนที่เกิดเหตุ เช่น แสงไฟ แสงสว่าง ลักษณะ

                 ภูมิประเทศ เส้นทางการหลบหนีของผู้ต้องหา เป็นต้น
                               ในต่างประเทศจะมีการนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ แต่จะ

                 ไม่มีการนำาตัวผู้ต้องหาไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยจะเป็นการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานที่ได้ไว้ใน
                 สำานวนเพื่อเสนอต่อศาลเท่านั้น และจะไม่มีการนำาข้อมูลมาเผยแพร่ก่อนมีคำาพิพากษา


                               ผู้แทนกรมก�รปกครอง ได้ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ

                 คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
                               ตามโครงสร้าง การจัดทำาแผนประทุษกรรมไม่มีกฎหมายที่ระบุไว้ชัดเจน  ส่วนรูปแบบ

                 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้กว้างๆ  โดยกำาหนดแบบฟอร์มให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้กรอกรายละเอียด
                 ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องสอบถามข้อมูลจากผู้ต้องหาที่ให้การรับสารภาพ  โดยในงานสอบสวน

                 การนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพก็มีความจำาเป็น เนื่องจากในกรณีที่ไม่มี
                 พยานหลักฐานใดๆ เลย  หากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ การนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ในสถานที่ต่างๆ

                 ก็ช่วยเพิ่มน้ำาหนักในคำารับสารภาพของผู้ต้องหาให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และจะเป็นประโยชน์ต่อ
                 การพิจารณาในชั้นศาล



            18

            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
            กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24