Page 17 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 17
ม�ตร� ๓๙ วรรคสอง วางหลักไว้ว่า ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา
หรือจำาเลย ไม่มีความผิด
ม�ตร� ๔๐ วางหลักไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำาเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี
มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับ
การสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำาเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง
๒. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง
๓. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๖๖ วางหลักไว้ว่า พยานวัตถุ
พยานเอกสารหรือพยานบุคคล ซึ่งน่าพิสูจน์ได้ว่าจำาเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างพยานหลักฐานได้
แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำามั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น
และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน
คำารับสารภาพในชั้นสอบสวนมีผลเป็นเพียงพยานบอกเล่า ไม่เพียงพอต่อการใช้เป็น
พยานในชั้นศาล ซึ่งคดีความผิดบางประเภทที่มีเพียงแต่คำารับสารภาพ และไม่มีพยานหลักฐานอื่น
หลักของการสอบสวนจะต้องนำาคำารับสารภาพเพื่อขยายผลไปยังพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น
อาวุธ สถานที่เกิดเหตุ สถานที่ซ่อนอาวุธ พฤติการณ์การกระทำาความผิด เป็นต้น ซึ่งเป็นพยาน
หลักฐานที่แยกออกจากคำารับสารภาพ หากมีพยานหลักฐานอื่นประกอบ การนำาผู้ต้องหาไปทำาแผน
การนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพก็อาจจะมีความจำาเป็นน้อยลง การดำาเนินการโดยใช้หลักการ
ของ Crime Control คือ หลักเสรีภาพและหลักของการควบคุมอาชญากรรมซึ่งต้องมีความสมดุลกัน
หลักการนำาชี้ที่เกิดเหตุกับการสอบปากคำารับสารภาพเป็นศิลปะในการสอบสวน
ไม่ใช่หลักกฎหมาย ซึ่งหลักกฎหมายที่ใช้ในการปฏิบัติ คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๖๖ ซึ่งประเทศไทยใช้หลักการของประเทศฝรั่งเศส แต่ศิลปะในการทำาคดีนั้น พนักงานสอบสวน
นำาวิธีการมาจากแนวคำาพิพากษา
กรมสอบสวนคดีพิเศษไม่มีการกำาหนดเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติในการนำาตัวผู้ต้องหาไป
ทำาแผนการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ เนื่องจากคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษดำาเนินการนั้น
เป็นคดีที่ได้รับจากสำานักงานตำารวจแห่งชาติ จึงทำาให้ไม่มีปัญหาอุปสรรคและข้อร้องเรียนในการปฏิบัติ
หน้าที่เกี่ยวกับการนำาตัวผู้ต้องหาไปทำาแผนการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ
แนวทางในการหาวิธีการทดแทนการจัดทำาแผนประทุษกรรม หากมีความจำาเป็นที่
จะต้องดำาเนินการ แต่อาจจะไม่จำาเป็นต้องแถลงข่าวหรือแจ้งข่าวล่วงหน้า เนื่องจากต้องคำานึงถึงสิทธิ
และเสรีภาพของผู้ต้องหาเป็นหลัก โดยผู้ต้องหาจะต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในการทำาแผน
การนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และเมื่อไปถึงสถานที่เกิดเหตุจะต้องสอบถามความยินยอม
จากผู้ต้องหาซ้ำาอีก เนื่องจากคำายินยอมสามารถถอนความยินยอมได้เสมอ และไม่ใช่หลักกฎหมาย
โดยตรง ส่วนการนำาตัวผู้ต้องหาไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหาเช่นกัน
16
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน