Page 16 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 16

ปัญหาอุปสรรคและข้อร้องเรียนในการปฏิบัติหน้าที่  และแนวทางในการหาวิธี
                    การทดแทนการจัดทำาแผนประทุษกรรม โดยส่วนใหญ่ปัญหาที่พบ คือ ผู้ต้องหาถูกทำาร้ายร่างกาย

                    ขณะนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ ซึ่งที่ผ่านมาสำานักงานตำารวจแห่งชาติได้กำาชับการปฏิบัติ
                    และวางมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ต้องหาถูกทำาร้ายร่างกายไว้แล้ว โดยกำาชับมิให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

                    เข้าไปในสถานที่นำาชี้  แต่ในบางครั้งหรือบางสถานที่อาจมีประชาชนจำานวนมากมามุงดูเหตุการณ์
                    ซึ่งหลีกเลี่ยงโดยการเลื่อนการนำาชี้ที่เกิดเหตุไปเป็นวันอื่น หรือหากมีความจำาเป็นที่จะต้องจัดทำาแผน
                    ประกอบคำารับสารภาพในวันนั้นจะมีการเพิ่มกำาลังเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุทำาร้ายหรือความ

                    ไม่ปลอดภัยของผู้ต้องหาที่นำาชี้  ซึ่งสำานักงานตำารวจแห่งชาติได้ให้ความสำาคัญในเรื่องนี้มานานแล้ว
                    ในส่วนของการหาวิธีการอื่นเพื่อทดแทนการจัดทำาแผนการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพนั้น

                    ขณะนี้ยังไม่มีการหาวิธีการอื่นทดแทน เนื่องจากพนักงานสอบสวนยังจำาเป็นที่จะต้องใช้การนำาชี้
                    ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา

                                     การนำาตัวผู้ต้องหาไปทำาแผนการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพนั้น โดยหลัก
                    ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหา ซึ่งมีผู้กระทำาผิดบางรายที่รับสารภาพแต่เกิดความอับอายที่จะ

                    ต้องทำาแผนการนำาชี้ที่เกิดเหตุ  พนักงานสอบสวนก็มิได้บังคับให้ไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ สำาหรับผู้กระทำาผิด
                    บางรายที่สมัครใจเนื่องจากเห็นว่าการกระทำาของตนจะเป็นประโยชน์ให้ประชาชนได้เห็นเป็นตัวอย่างว่า
                    เป็นการกระทำาที่ไม่ดี  พนักงานสอบสวนจึงจะนำาตัวไปทำาแผนนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ

                                     การนำาตัวผู้ต้องหาไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนก็ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหา
                    เช่นกัน ซึ่งโดยหลักต้องเป็นไปตามบันทึกข้อความ ที่ ๐๕๐๓.๖/๑๖๔๔๒ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๙

                    ซึ่งในการแถลงข่าวควรเป็นการให้ภาครัฐแถลงผลคดี  โดยในการจัดทำาแผนการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
                    คำารับสารภาพมีประโยชน์ แต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ดีกว่านี้

                                  ผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำาแผน

                    ประทุษกรรม สรุปได้ ดังนี้
                                  หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดทำาแผนประทุษกรรมหรือแผนการนำาชี้

                    ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ คือ

                                  ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                                     ม�ตร� ๒๙  วางหลักไว้ว่า การจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญ

                    รับรองไว้จะกระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่
                    รัฐธรรมนูญนี้กำาหนดไว้และเท่าที่จำาเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้น

                    มิได้
                                     ม�ตร� ๓๕  วางหลักไว้ว่า สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจน

                    ความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง

                                     การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน
                    อันเป็นการละเมิดหรือกระทบสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว
                    จะกระทำามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ


                                                                                                          15

                                                                       สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
                                                      กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21