Page 98 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 98
• การตรวจสอบรายละเอียดเอกสารทางการเงินจะแสดงให้เห็นว่าประเทศให้ความสนใจกับปัญหาแต่ละ
ประเด็นมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการท�างานของรัฐบาลอื่น ๆ ในภูมิภาคระหว่างปีต่อปี
การประเมินผลนี้ส่วนใหญ่จะใช้ได้ดีกับประเทศที่ก�าลังพัฒนา ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการจัดสรรงบประมาณการศึกษา
ที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของประเทศที่มีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ดี หากพบว่ามีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการ
ศึกษาลดลงต�่ากว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค อาจสะท้อนว่าประเทศไม่ได้ลงทุนในทรัพยากรที่จ�าเป็นในอนาคต เป็นต้น
• ค่าสถิติต่าง ๆ ระดับประเทศ (เช่น จากส�านักงานสถิติแห่งชาติ
ธนาคารชาติ ฯลฯ)
• ข้อมูลเกี่ยวกับผลการบริหารจัดการของแต่ละ
หน่วยงานรัฐ เนื่องจากกระทรวงต่าง ๆ จะเก็บรวบรวม
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพันธกิจที่รับผิดชอบของตน
• ข้อมูลจากคณะกรรมการ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวกับ
การตรวจสอบประเด็นเฉพาะบางอย่างที่เกี่ยวข้องและ
เป็นประโยชน์
• องค์การเอกชน (NGOs) มักจะด�าเนินการวิจัยและ
การศึกษาอื่น ๆ เช่นเดียวกับหน่วยงานภาครัฐ
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติส่วนใหญ่สามารถใช้ข้อมูลและเอกสารการบริหารจัดการภายในของตนเอง เช่น สถิติการ
ร้องเรียน ข้อมูลที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะการในการด�าเนินการเฝ้าระวังที่ผ่านมา ข้อมูลการเฝ้าระวังในห้องคุมขัง ผลของการ
ประชุมแห่งชาติหรือการอบรมเชิงปฏิบัติการในประเด็นสิทธิมนุษยชนประเภทเฉพาะ นอกจากนี้ สถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติอาจด�าเนินการวิจัยปฐมภูมิหรือการหาข้อเท็จจริง สิ่งนี้อาจมีความจ�าเป็นเมื่อเกิดช่องว่างในข้อมูลที่มีอยู่หรือมี
ข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรเก็บข้อมูลทั้งเชิง
คุณภาพและเชิงปริมาณ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลอาจแสดงว่า
เด็กผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเลื่อนชั้นเรียนจากระดับประถม
ไปมัธยมน้อยกว่าเด็กผู้ชาย ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเชิง
ปริมาณ ที่แสดงให้เห็นว่ามีปัญหาบางอย่างที่อาจเกิดขึ้น
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจเพิ่มการศึกษาข้อมูล
โดยใช้แบบส�ารวจหรือการโฟกัสแบบกลุ่ม เช่น พยายามที่
จะอธิบายสาเหตุของการเกิดสถานการณ์ ข้อมูลที่สร้างขึ้น
จากความพยายามดังกล่าวจะมีคุณภาพ และสามารถช่วย
ให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
97
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ