Page 93 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 93
5.2 แนวทางปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาพรวม
การเฝ้าระวัง หมายถึง กิจกรรมในการสังเกต รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานสถานการณ์หรือเหตุการณ์
โดยผลการเฝ้าระวังอาจน�าไปสู่การรายงานการละเมิด การให้ข้อแนะน�าแนวทางในการแก้ไข การป้องกัน การศึกษา หรือ
การรณรงค์ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรพยายามที่จะตรวจสอบว่าการน�าเสนอของเหตุการณ์หรือสถานการณ์
มีความถูกต้องหรือไม่ อย่างไรก็ตาม รายงานการติดตามเป็นการบันทึกที่ส�าคัญที่จะระบุถึงการสังเกตเหตุการณ์ว่าอะไร
เกิดขึ้นบ้าง ทั้งโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือการรายงานโดยหน่วยงานมาตรฐานอื่น ๆ ทั้งนี้ รายงานการติดตาม
เฝ้าระวังเหตุการณ์มักจะเข้มงวดน้อยกว่ารายงานการตรวจสอบข้อร้องเรียน หรือรายงานการติดตามผลการด�าเนินการ
ตามข้อเสนอหลังการตรวจสอบ
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องเลือกแผนการเฝ้าระวัง ตามล�าดับความส�าคัญของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และ
บทบัญญัติทางกฎหมายของประเทศ โดยเจ้าหน้าที่ในสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการ
เฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและขั้นสูง
หลักการในการเฝ้าระวัง
การไม่ก่ออันตราย ความถูกต้องแม่นย�า
การเฝ้าระวังของ
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ต้องปฏิบัติตามหลักการส�าคัญ
การรู้จักมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ ความยุติธรรม ความซื่อตรง
ความเที่ยงธรรมและความเป็นมืออาชีพ
• “การไม่ก่ออันตราย” เป็นหลักการที่ส�าคัญที่สุดที่น�ามาใช้ในการท�างานการเฝ้าระวังทางด้านสิทธิมนุษยชน
ซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงโดยตรงกับบุคคลอื่น ๆ เช่น ความน่าเชื่อถือ การรักษาความลับ และความปลอดภัย ซึ่งกล่าวอย่างสรุป
ได้ว่า การเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนจะต้องไม่ด�าเนินการใด ๆ ในทางที่อาจเกิดความอันตรายขึ้นได้
• การรู้จักมาตรฐาน หมายความว่า กระบวนการการเฝ้าระวังนั้น จ�าเป็นต้องมีความเข้าใจในมาตรฐานสิทธิ
มนุษยชนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องในการด�าเนินการเฝ้าระวัง จะต้องตีความใน
มาตรฐานเหล่านั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ข้อมูลถูกเก็บมาจากคนละแหล่ง
• ผลที่พบและน�าเสนอหลังจากการเฝ้าระวังจะต้องมี “ความถูกต้องแม่นย�า” ผ่านการเข้าใจในมาตรฐานสิทธิ
มนุษยชนแบบเดียวกัน นอกจากนี้ วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ยังต้องสนับสนุนให้เกิดความถูกต้องและแม่นย�า
เช่น ผู้ลงรหัสข้อมูลจ�าเป็นต้องใช้ศัพท์และรูปแบบของการลงข้อมูลแบบเดียวกันทั้งหมด
• “ความยุติธรรม ความซื่อตรง ความเที่ยงธรรม และความเป็นมืออาชีพ” เป็นค�าที่มีความสัมพันธ์กัน และต้อง
ปฏิบัติตามในการน�ามาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้มาใช้ เมื่อมีการรวบรวมการวิเคราะห์ข้อมูล และการน�าเสนอผล
92
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ