Page 29 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ
P. 29
25
ครอบคลุมมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้มากขึ้นเพื่อลดข้อจ ากัดของคนพิการทุกประเภท
ในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
สิทธิด้านสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพ (ข้อ 25 และ 26 ของอนุสัญญาฯ)
45. การจัดบริการทางการแพทย์ของรัฐเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการยังไม่ทั่วถึง
ครอบคลุมและไม่ตอบสนองต่อความต้องการจ าเป็นของคนพิการ การให้บริการ
อุปกรณ์/เครื่องช่วยความพิการและการฟื้นฟูคนพิการมีจ ากัดในโรงพยาบาลเพียง
บางแห่งเท่านั้นและมักไม่มีบริการแก่เด็กเล็กเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพแต่เนิ่นหรือเมื่อ
แรกพบความพิการ โรงพยาบาลประจ าจังหวัดบางแห่งยังไม่มีความเชี่ยวชาญใน
การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการมากพอ อย่างไรก็ดี หน่วยงานของรัฐได้พยายาม
กระจายการให้บริการไปในระดับท้องถิ่นให้มากขึ้นโดยได้ให้งบประมาณ
สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 39 จังหวัดจัดบริการฟื้นฟูให้คนพิการที่
บ้านและให้บริการพื้นฐานอื่นที่จ าเป็นส าหรับการด ารงชีวิตอิสระของคนพิการโดย
มีส านักงานพัฒนาสังคมและโรงพยาบาลในจังหวัดมาร่วมในการบริหารงาน
46. การให้บริการฟื้นฟูและอุปกรณ์/เครื่องช่วยความพิการของรัฐยังมีข้อจ ากัด
บางประการ กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศก าหนดบริการฟื้นฟู
สมรรถภาพ โดยกระบวนการทางการแพทย์ส าหรับคนพิการ (พ.ศ.2552) จ านวน
26 รายการ แต่ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นผู้
ให้บริการด้านสาธารณสุขของรัฐ จัดบริการให้เพียง 9 รายการเท่านั้น
สถานพยาบาลรวมทั้งศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
มักให้บริการการฟื้นฟูแก่คนพิการทางการเคลื่อนไหวมากกว่าคนพิการประเภท
อื่น ส่วนอุปกรณ์ที่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. มีปัญหาเรื่องคุณภาพ
เนื่องจากรัฐก าหนดราคาค่าอุปกรณ์ไว้ค่อนข้างต่ า ศูนย์สิรินธรฯ มีการให้ยืม
อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ แต่การให้บริการยังจ ากัดอยู่ที่ส่วนกลาง ไม่