Page 26 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ
P. 26
22
การศึกษาของเด็กพิการ (Student Support Service) ในโรงเรียนที่มีการจัดการ
เรียนร่วม/เรียนรวม ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่เด็กพิการส่วนใหญ่เรียนอยู่ โดยขณะนี้มี
การจัดระบบนี้ให้แก่โรงเรียนในสังกัดประมาณ 1,000 แห่งจากโรงเรียนทั้งหมด
ประมาณ 21,000 แห่งทั่วประเทศ และมีแผนจะขยายไปในโรงเรียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น
แต่ปัจจุบันยังมีข้อจ ากัดด้านงบประมาณ
40. ข้อเสนอแนะ กระทรวงศึกษาธิการควรมีมาตรการสนับสนุนโรงเรียนต่างๆ
ให้สามารถจัดการศึกษาแก่เด็กพิการที่สามารถเรียนร่วมหรือเรียนรวม กับเด็ก
3
ทั่วไปในโรงเรียนปกติในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งงบประมาณใน
การปรับสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการศึกษาของเด็กพิการและในการ
จ้างบุคลากรเพื่อสนับสนุนการศึกษาของเด็กพิการเพิ่มเติม การอบรมครูให้มี
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิการและแนวทางการสอนเด็กพิการประเภทต่างๆ
ตามระดับความพิการ การพัฒนาแนวทางการจัดท า แผนการศึกษารายบุคคลที่
สอดคล้องกับความต้องการจ าเป็นของเด็กพิการ รวมถึงการวัดและประเมินผล
การศึกษาที่เหมาะสม และรัฐควรจัดสรรงบประมาณให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาแก่คนพิการได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ นอกจากนี้
กระทรวงศึกษาควรมีการเก็บข้อมูลสถิตินักเรียนพิการที่เข้ารับและจบการศึกษา
ในแต่ละช่วงชั้นโดยแยกตามประเภทความพิการเพื่อน ามาใช้ในการวางแผน
การศึกษาส าหรับคนพิการ
3 ตามแนวทางการจัดรูปแบบการศึกษาส าหรับเด็กพิการของกระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาแบบเรียนร่วม (Mainstreaming) หมายถึง การจัดให้เด็ก
พิการได้เรียนในโรงเรียนปกติในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เด็กพิการและเด็กปกติได้เรียนรู้และมีกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนในวัยเดียวกัน เช่น การ
เรียนร่วมบางเวลา การเรียนในห้องเสริมวิชาการ การเรียนร่วมในวิชาดนตรี พลศึกษา กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เป็นต้น ส่วนการจัดการศึกษา
แบบเรียนรวม หมายถึง การจัดให้เด็กพิการเรียนรวมและท ากิจกรรมกับเด็กปกติในทุกวิชาโดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นเด็กพิการหรือเด็กปกติ โดยครูต้อง
ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และโรงเรียนต้องจัดให้มีสื่อสิ่งอ านวยความสะดวกทางการศึกษา รวมทั้งการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม