Page 31 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ
P. 31

27


               ดังกล่าว นอกจากนี้ ปัจจุบันยังไม่มีสถาบันทางจิตส าหรับคนพิการเป็นการเฉพาะ


               ในขณะที่คนพิการทางการเคลื่อนไหว มีศูนย์สิรินธรที่ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ


               ทางการแพทย์ และด าเนินงานด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้วย แม้ประเทศไทย

               จะมีกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตแต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้คนพิการทางจิตมีส่วน


               ร่วมและไม่ได้คุ้มครองคนพิการทางจิตแต่อย่างใด



               49. ผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่อายุเกิน 18 ปีบางคน ประสบปัญหาไม่สามารถ


               รับมือกับเด็กที่มีความเครียดและใช้ความรุนแรง เนื่องจากเด็กไม่สามารถจัดการ

               กับความเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนได้และอาจท าอันตรายต่อตัวเอง แต่


               โรงพยาบาลมักไม่ยอมให้เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ทั้งโรงพยาบาลทั่วไปและ

               โรงพยาบาลทางจิต ผู้ปกครองได้เคยแจ้งปัญหานี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ


               แล้วแต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ ระบบประกันสุขภาพมีการปรับเปลี่ยน


               การให้ยาแก่ผู้เป็นออทิสติกจากยาต่างประเทศเป็นยาที่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งมี

               ผลข้างเคียงมากกว่า ทั้งๆ ที่ยาจากต่างประเทศเป็นยาในบัญชีหลักที่โรงพยาบาล


               สามารถจ่ายได้ หากจะใช้ยาที่อยู่นอกระบบบัญชียาที่ผู้รับบริการต้องจ่ายเอง คน

               พิการออทิสติกต้องประสบปัญหาเพราะยามีราคาแพง




               50. ปัจจุบัน ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการส่งต่อคนพิการทางจิตกรณีฉุกเฉิน

               การขอความช่วยเหลือจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ทางสายด่วน


               1669 ในกรณีคนพิการทางจิตมีพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น แต่ยังไม่มี

               ผู้ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผู้ป่วยถือมีดอยู่ในมือแต่ยังไม่ได้ท าร้ายใคร เจ้าหน้าที่หน่วย


               บริการจะเห็นว่ายังไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน หรือเป็นกรณีที่ฉุกเฉินน้อยกว่ากรณีที่ได้รับ


               แจ้งรายอื่นๆ จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับบริการ ญาติของคนพิการต้องจัดหารถเพื่อ

               ส่งตัวคนพิการทางจิตไปโรงพยาบาลเอง
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36