Page 32 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ
P. 32
28
51. ข้อเสนอแนะ กรมสุขภาพจิตควรท าหน้าที่ทั้งทางด้าน (1) การรักษา และ
(2) การป้องกันและส่งเสริม เช่นเดียวกับกรมอนามัยซึ่งดูแลสุขภาพทางร่างกาย
และโรงพยาบาลควรรับคนพิการทางจิตที่ตกอยู่ในภาวะก้าวร้าว และพ่อแม่ไม่
สามารถควบคุมได้เป็นผู้ป่วยในจนกว่าอาการจะดีขึ้น รวมทั้งฝึกอบรมให้ญาติ
หรือผู้ดูแลสามารถควบคุมสถานการณ์กรณีผู้ป่วยมีความก้าวร้าวและใช้ความ
รุนแรง โดยควรมีการก าหนดให้ชัดเจนว่าจะให้โรงพยาบาลใดให้บริการดังกล่าว
ในการส่งต่อคนพิการทางจิตในกรณีฉุกเฉิน ควรมีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ
ลักษณะฉุกเฉินของคนพิการแต่ละประเภทที่แตกต่างกันให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วย
บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อให้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ
ทันท่วงที และไม่เป็นภาระในการด าเนินการของญาติของผู้ป่วยทางจิต ในกรณี
คนพิการทางจิตที่ต้องใช้ยาที่มีราคาแพง รัฐอาจก าหนดให้ใช้สิทธิในระบบ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติก่อน หากไม่เพียงพอ ควรให้สามารถขอใช้เงินจาก
กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพิ่มเติมได้
52. ผู้ป่วยทางจิตส่วนใหญ่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและท าบัตรแสดงตนเป็นคนพิการ
เนื่องจากเห็นว่าการมีบัตรดังกล่าวจะท าให้ถูกตีตราจากสังคม ปัจจุบันมีคนพิการ
ทางจิตที่ขึ้นทะเบียนประมาณ 100,000 คน แต่มีการประมาณการมีคนพิการทาง
จิตที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกกว่า 600,000 คน ท าให้เป็นที่น่ากังวลว่าคนกลุ่มนี้อาจ
เข้าไม่ถึงยาที่จ าเป็นที่จะท าให้คนพิการกลุ่มนี้ใช้ชีวิตในสังคมได้ การไม่ขึ้น
ทะเบียนเป็นคนพิการยังจะท าให้คนพิการนั้นไม่ได้รับประโยชน์จากระบบการ
ช่วยเหลือฟื้นฟูคนพิการ ซึ่งจะให้บริการแต่ผู้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วเท่านั้น นอกจากนี้
ผู้ป่วยทางจิตหลายคนไม่เข้าใจและกลัวว่าการขึ้นทะเบียนจะมีผลกระทบต่อการ
ท านิติกรรมสัญญา หรือสิทธิในการรับมรดกต่างๆ แต่ความพิการทางจิตไม่ใช่
ความพิการถาวร เมื่อหายดีแล้วสามารถเพิกถอนความเป็นคนพิการได้ ใน