Page 99 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 99

97
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                                    ๔)  ผู้แทนของสำ�นักง�นอัยก�รสูงสุด

                                        เห็นด้วยกับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เนื่องจากจะผลักดันให้แก้ไขกฎหมายเพื่อให้มี

                  การรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชนมากขึ้น  ส่วนข้อกังวลที่ว่าหากเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้วไม่สามารถ
                  ปฏิบัติตามได้ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบนั้น เห็นว่า  การได้รับผลกระทบมักจะเกิดจากการที่ไม่สามารถบังคับใช้
                  กฎหมายที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ มิใช่เป็นเพราะไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาที่เข้าเป็นภาคี  การที่ประเทศไทยกำาหนด

                  เงื่อนไขให้แรงงานข้ามชาติต้องพิสูจน์สัญชาติทั้งที่มีใบอนุญาตทำางานแล้ว  เป็นเงื่อนไขที่ทำาให้เกิดการคอรัปชั่น
                  แรงงานเหล่านี้จะถูกนายหน้าเรียกรับเงิน  หากแรงงานได้รับอนุญาตเข้ามาทำางานเรียบร้อยแล้ว  พวกนี้น่าจะอยู่
                  ในกลุ่มที่มีสิทธิตั้งสหภาพแรงงานได้ สำาหรับแรงงานนอกระบบ กระทรวงแรงงานควรหาทางจัดให้เข้าระบบ

                  ทั้งหมด โดยอาจใช้วิธีการทำาข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้าน
                                        สำาหรับสิทธิการรวมตัวเป็นสหภาพของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น สำานักงาน

                  คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนไม่ควรกำาหนดให้เฉพาะข้าราชการพลเรือนเท่านั้น  ควรรวมถึงข้าราชการ
                  ประเภทอื่นซึ่งมีอยู่เป็นจำานวนมากด้วย

                                    ๕)  ผู้แทนของสำ�นักง�นสภ�คว�มมั่นคงแห่งช�ติ

                                        ในปี ๒๕๕๖ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาว
                  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) อนุมัติการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ แต่เนื่องจากมีหน่วยงาน

                  ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว ๔ แห่ง คือ กระทรวงการต่างประเทศ  สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                  สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                  รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลสำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น  จึงได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครอง

                  แรงงานไปจัดประชุมหารือกับส่วนราชการดังกล่าวอีกครั้งก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี  ซึ่งได้จัดประชุมเมื่อวันที่
                  ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ ทั้ง ๔ หน่วยงานยังยืนยันความเห็นเดิม  ขณะนี้ (วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗) ร่างกฎหมาย
                  แรงงานสัมพันธ์สองฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงควรแก้ไขกฎหมายภายใน

                  ให้เสร็จก่อน
                                        อย่างไรก็ตาม หากกระทรวงแรงงานยืนยันว่า ควรเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

                  ในขณะนั้นให้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว ก็ควรระบุว่า ครอบคลุมลูกจ้าง คนทำางานกลุ่มใด เช่น แรงงานที่มี
                  สัญชาติไทยซึ่งสำานักงานฯ ไม่มีข้อขัดข้อง หรือแรงงานข้ามชาติ ซึ่งสำานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีข้อกังวลว่า

                  แรงงานประเภทหลังแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ แรงงานข้ามชาติในระบบผ่อนผัน ตามมาตรา ๑๗ ของพระราชบัญญัติ
                  คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งได้รับการจดทะเบียนและใบอนุญาตทำางานชั่วคราวปีต่อปี และกลุ่มแรงงานตามตะเข็บ
                  ชายแดน ได้แก่ ประเภทเช้าไปเย็นกลับ และแรงงานไป-กลับ ซึ่งสามารถอยู่ในไทย ได้ ๗ วัน เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มี

                  ระบบบริหารจัดการที่จะดูแลควบคุมการใช้สิทธิตั้งสหภาพแรงงานของแรงงานข้ามชาติซึ่งมีอยู่เป็นล้านคน
                                    ๖)  ผู้แทนของกระทรวงกล�โหม สำ�นักง�นคณะกรรมก�รพัฒน�ก�รเศรษฐกิจและ

                  สังคมแห่งช�ติ และสำ�นักง�นสภ�ที่ปรึกษ�เศรษฐกิจและสังคมแห่งช�ติ
                                        เห็นด้วยกับการแก้ไขกฎหมายภายในให้รองรับอนุสัญญาไว้ก่อน

                                    ๗)  ผู้แทนของสำ�นักง�นคณะกรรมก�รปฏิรูปกฎหม�ย

                                        ขณะนี้ (วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗) คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายอยู่ระหว่างการศึกษา
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104