Page 97 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 97
95
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๔.๓ การรับฟังความเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้รับฟังข้อมูลและความเห็นเรื่องการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศดังกล่าว จากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน ทั้งหมด ๔ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑
เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
และครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘ มีสาระสำาคัญโดยสรุป ดังนี้
๔.๓.๑ การรับฟังความเห็นจากภาครัฐ
๑) ผู้แทนของกรมสวัสดิก�รและคุ้มครองแรงง�น
๑.๑) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้เตรียมการรองรับการเข้าเป็นภาคี
อนุสัญญาทั้งสองฉบับ โดยดำาเนินการควบคู่กับการแก้ไขกฎหมายภายในสองฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติแรงงาน
สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้อนุวัติตามอนุสัญญานี้
๑.๒) ปี ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีซึ่งมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. .... พร้อมกับอนุมัติการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘
และเสนอเรื่องการเข้าเป็นภาคีไปยังรัฐสภาเพื่อเห็นชอบแล้วขอถอนเรื่องในภายหลัง และปี ๒๕๕๖ รัฐบาล
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติเห็นชอบเรื่องการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงาน
เสนอและนำาเสนอรัฐสภา ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเห็นควรให้แก้ไขกฎหมายก่อน ต่อมามีการยุบสภา
ผู้แทนราษฎร ในปี ๒๕๕๖ และมีรัฐประหารในปี ๒๕๕๗ การเสนอเรื่องการเข้าเป็นภาคีจึงเป็นอันระงับไว้
ในปี ๒๕๕๗ สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับแล้วเสร็จ ปี ๒๕๕๘
กระทรวงแรงงานได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนเสนอ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติทั้งสองได้เสนอไปยังเลขาธิการ
คณะรัฐมนตรี แต่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และนายชาลี ลอยสูง คณะกรรมการ
สมานฉันท์แรงงานไทยได้ยื่นหนังสือต่อสำานักนายกรัฐมนตรี ขอให้ชะลอเรื่องนี้ไว้ก่อน
๑.๓) หลักการตามอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับ การรวมตัวของคนทำางานในรูปของ
สมาคม สมาพันธ์ สหกรณ์ ชมรม จะมีกฎหมายรองรับหรือไม่มีก็ได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาและคุ้มครอง
ประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ระหว่างองค์กร เพื่อ
ส่งเสริมการศึกษาและส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในการรวมตัวของคนทำางานข้างต้น โดยห้ามรัฐเข้าไปจำากัด
สิทธิการรวมตัวของคนทำางาน เว้นแต่ที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายซึ่งต้องกระทำาเท่าที่จำาเป็นและต้อง
ไม่กระทบถึงสาระสำาคัญแห่งสิทธิการรวมตัว
๑.๔) สำาหรับความเห็นต่อกฎหมายและร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ มีดังนี้
๑.๔.๑) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นการจัดระบบการรวมตัวเป็นองค์กรลูกจ้างและนายจ้างให้เป็น
ระเบียบเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน ไม่เป็นการจำากัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และไม่ถือเป็นการแทรกแซงของรัฐตามอนุสัญญา ILO