Page 101 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 101
99
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๒) ผู้แทนของสหพันธ์แรงง�นรัฐวิส�หกิจแห่งประเทศไทย
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ก่อน หรือจะแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับอนุสัญญาฯ ก่อน
ไม่มีความสำาคัญ สิ่งสำาคัญ คือ การดำาเนินการให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ ปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่มี
แนวปฏิบัติด้านแรงงานสัมพันธ์ที่แตกต่างกันระหว่างลูกจ้างแต่ละอาชีพ เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และลูกจ้างภาคเอกชน และเห็นว่าลูกจ้างภาคเอกชนและลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจ ควรอยู่ภายใต้กฎหมาย
แรงงานสัมพันธ์คนละฉบับ
๓) ผู้แทนของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงง�นไทย
เดิมแรงงานภาคเอกชนกับแรงงานภาครัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน
การจดทะเบียนและการเจรจาต่อรองใช้กระบวนการเดียวกัน ใช้ระบบศาลเดียวกัน เพียงแต่รัฐวิสาหกิจมีรัฐบาล
เป็นนายจ้าง แต่ลูกจ้างภาคเอกชนมีเอกชนเป็นนายจ้าง จึงควรให้แรงงานทั้งสองประเภทอยู่ภายใต้กฎหมาย
ฉบับเดียวกัน และควรเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ฉบับที่ ๘๗ และ ฉบับที่ ๙๘ ไปก่อนแล้วจึงแก้กฎหมายภายใน
๔.๓.๓ การรับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน
๑) น�ยบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ (ผู้แทนมูลนิธิอ�รมณ์ พงศ์พงัน) ให้ความเห็น ดังนี้
๑.๑) สำาหรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่ว่าอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับ
อาจเข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาที่ต้องทำาตามหลักเกณฑ์มาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ ส่วนตัวเห็นว่า ไม่น่าจะเข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาดังกล่าว นอกจากนี้ ถ้าประเทศไทย
เข้าเป็นภาคีก่อนแก้ไขกฎหมายก็จะมีเวลาประมาณ ๑ ปี ในการแก้ไขกฎหมาย เนื่องจากต้องมีขั้นตอนการ
จดทะเบียนการเข้าเป็นภาคี ข้อดีของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗
และฉบับที่ ๙๘ ได้แก่ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนในสาระสำาคัญของอนุสัญญาและกฎหมาย
ที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญามีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ ภาคประชาสังคมได้เข้ามามี
ส่วนร่วมแสดงความเห็นในการแก้ไขกฎหมายซึ่งจะช่วยให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ขณะนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสมาชิกมากกว่า ๑๘๐ ประเทศ มี ๑๕๒
ประเทศรับรองอนุสัญญาฯ ฉบับที่ ๘๗ และมี ๑๖๓ ประเทศรับรองอนุสัญญาฯ ฉบับที่ ๙๘ ประเทศในอาเซียน
ที่ยังไม่รับรองทั้งอนุสัญญาฯ ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ คือ ประเทศไทย บรูไน ลาว เวียดนาม ผลกระทบของการไม่ทำา
ตามอนุสัญญาทั้งสองฉบับ คือ การไม่ถูกเชิญเข้าร่วมกิจกรรมขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
๑.๒) มีข้อสังเกตว่า คนทำางานในอนุสัญญาทั้งสองฉบับใช้คำาว่า “workers”
ขณะที่ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ....
ทั้งสองฉบับ ใช้คำาว่า “ลูกจ้าง” ซึ่งมีความหมายแคบกว่า คำาว่า “คนทำางาน” อันจะรวมถึงคนทำางานทุกประเภท
ได้แก่ ผู้รับงานมาทำาที่บ้าน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่เน้นนายจ้างหรือหน่วยงานเจ้าสังกัด แต่เน้น
ความสามารถในการทำางาน และจะมีกฎหมายแรงงานของคนทำางานแต่ละประเภทแยกจากกันก็ได้ และต้อง
ไม่จำากัดเสรีภาพในการรวมตัวของคนทำางานดังกล่าวด้วยเหตุผลว่า อยู่ภายใต้กฎหมายคนละฉบับอย่างคนทำางาน
ในสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ ก็ควรรวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานได้
จึงดูเหมือนว่าการบัญญัติหรือแก้ไขกฎหมายที่เสนอโดยส่วนราชการจะคำานึงถึงความสะดวกในการทำางานของ
ตนมากกว่าการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวที่สอดคล้องตามมาตรฐานระหว่างประเทศหรืออนุสัญญา