Page 98 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 98

96  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               คนทำางานและลูกจ้างสามารถรวมตัวกันในรูปแบบอื่นได้ตามหลักทั่วไปของสิทธิการรวมตัวของคนทำางานและ

               ของประชาชน  ซึ่งรัฐก็สามารถมีมาตรการ นโยบาย แนวปฏิบัติ เพื่อเป็นการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเป็นการเฉพาะ
               อีกต่างหากได้

                                          ๑.๔.๒)  ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ....  มาตรา ๑๐๒  และ
               ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๗  ให้อำานาจอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
               (๑) เข้าไปในสำานักงานของสหภาพแรงงาน  ในเวลาทำาการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำาเนินกิจการของ

               สหภาพแรงงาน  (๒) ให้กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของสหภาพแรงงาน ส่งหรือแสดงเอกสารหรือบัญชีของ
               สหภาพแรงงานเพื่อประกอบการพิจารณากรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น  (๓) สอบถามบุคคลในข้อ (๒) หรือเรียกบุคคล

               ดังกล่าวมาเพื่อสอบถามหรือให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำาเนินกิจการของสหภาพแรงงาน (สิทธิจัดระบบ
               บริหารงานและกิจกรรม) อาจจะดูเหมือนขัดหรือไม่สอดคล้องต่ออนุสัญญา แต่อธิบดีจะใช้อำานาจดังกล่าว
               เฉพาะเมื่อมีการร้องเรียน

                                          ๑.๔.๓)  ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๒ และ
               มาตรา ๑๐๔ ตัดขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีออก โดยให้มีสิทธินำาคดีไปสู่ศาลแทน เพราะต้องการลดการ
               แทรกแซงทางการเมือง และให้ศาลซึ่งเป็นคนกลางในกระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

                                          นอกจากนี้ ร่างกฎหมายนี้ยังไม่เปิดโอกาสให้สหภาพแรงงานหรือสหพันธ์
               แรงงานจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างได้ การนัดหยุดงานหรือปิดงานอาจทำาได้ แต่ในกิจการที่เป็นการบริการสาธารณะ
               ที่สำาคัญ  ซึ่งการนัดหยุดงานหรือปิดงานเกิดผลกระทบอย่างกว้าง  รัฐยังคงมีอำานาจควบคุมเพื่อความสงบเรียบร้อย

               ส่วนการจดทะเบียนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับได้ยกเลิกแล้ว มีเพียงการรับแจ้งการจัดตั้ง
               แต่ยังคงมีการกำาหนดรูปแบบในการแจ้ง หลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เป็นนิติบุคคล

                                 ๒)  ผู้แทนของกรมก�รจัดห�ง�น

                                     ประเทศไทยควรแก้ไขกฎหมายภายในให้เสร็จก่อนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO
               ทั้งสองฉบับ เนื่องจากหากเข้าเป็นภาคีแล้ว แต่ไม่อาจแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดรับกับอนุสัญญาได้ ประเทศไทย

               จะได้รับความเสียหาย  นอกจากนี้ อาจมีปัญหาด้านความมั่นคงอันเนื่องจากแรงงานข้ามชาติด้วย ซึ่งตาม
               พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ แรงงานข้ามชาติไม่สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงาน แต่ตามร่างพระราชบัญญัติ
               ทั้งสองฉบับไม่มีข้อกำาหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยจัดตั้งสหภาพแรงงาน หากให้แรงงานข้ามชาติจัดตั้งสหภาพแรงงานได้

               ควรอยู่ภายใต้เงื่อนไข ๓ ประการ คือ ต้องเข้าเมืองถูกกฎหมาย มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักร และต้องมีการจ้างงาน
               ที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือได้รับใบอนุญาตทำางาน

                                 ๓)  ผู้แทนของสำ�นักง�นคณะกรรมก�รกฤษฎีก�
                                     ขณะนี้ได้ตรวจแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... และ

               ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตามร่างกฎหมายได้ยกเลิกเงื่อนไขว่า ให้ผู้มี
               สัญชาติไทยจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ออกไปแล้ว  ส่วนการจะเข้าเป็นภาคีก่อนหรือจะแก้ไขกฎหมายภายใน

               ก่อนนั้น  ที่ผ่านมา ประเทศไทยดำาเนินการทั้งสองแนวทางขึ้นอยู่กับผลกระทบหรือผลประโยชน์ของประเทศ
               นอกจากนี้ หลังจากเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ประเทศไทยมีระยะเวลาประมาณ ๒ ปี ในการดำาเนินการให้สอดคล้อง
               ตามอนุสัญญา
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103