Page 103 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 103
101
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
กำาหนดเรื่องสัญชาติของคนทำางานต้องกำาหนดให้แรงงานไม่ว่าจะสัญชาติใด มีสิทธิในการรวมตัว เพราะเป็น
สิทธิขั้นพื้นฐาน หากเป็นคนทำางานต้องมีสิทธิในการรวมตัว
๒) น�ยช�ลี ลอยสูง (คณะกรรมก�รสม�นฉันท์แรงง�นไทย) ให้ความเห็น ดังนี้
๒.๑) กระทรวงแรงงาน (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) ได้พยายามผลักดัน
ในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ โดยจัดให้มีการ
รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้นำาแรงงาน นายจ้าง ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการมาเป็นระยะล่าสุด
ทราบว่า จะประมวลเป็นข้อมูลเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยคาดว่าจะดำาเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์
๒๕๕๘ นอกจากนี้ ตามรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาประจำาปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้ลดลำาดับ
ประเทศไทยจาก Tier 2 เฝ้าระวัง เป็น Tier 3 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้แทนประเทศไทย ออกเสียงไม่เห็นด้วย
กับส่วนเสริมของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานบังคับ พ.ศ. ๒๔๗๓ (ค.ศ. ๑๙๓๐)
(ฉบับที่ ๒๙) ในการประชุมแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ ๑๐๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗) ทำาให้สิทธิที่ประเทศไทยเคย
ได้มาจากระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP)
จากสหภาพยุโรปถูกระงับ ต่อมา รัฐบาลไทยได้แจ้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
ทั้งสองฉบับ โดยรอแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาก่อน
๒.๒) อย่างไรก็ตาม โดยที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ก่อตั้งองค์การ
แรงงานระหว่างประเทศแต่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาหลักจำานวน ๓ ฉบับ จาก ๘ ฉบับ ซึ่ง ๒ ใน ๓ อนุสัญญา
หลักที่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี คือ อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ องค์การด้านแรงงานจึง เห็นว่า ประเทศไทย
ควรเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับก่อน โดยไม่จำาต้องมีข้อสงวนหรือถ้อยแถลง อันจะเป็นการรับรองเสรีภาพ
ในการสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว การร่วมกันเจรจาต่อรองของคนทำางาน โดยไม่ต้องรอแก้กฎหมาย
ภายในเนื่องจากเมื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับแล้ว จะมีเวลาอีก ๑ ปี ในการแก้กฎหมาย
๒.๓) ส่วนข้อกังวลอันเนื่องจากการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ
ฉบับที่ ๙๘ ว่าจะเปิดโอกาสให้มีการสมาคมรวมตัวและร่วมกันเจรจาต่อรองของกลุ่มต่างๆ นั้น มีความเห็น ดังนี้
๒.๓.๑) การเปิดโอกาสให้ ทหาร ตำารวจ สามารถใช้สิทธิในการรวมตัวและ
ร่วมเจรจาต่อรองตามอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๙๘ นั้น เห็นว่า กรณีข้าราชการ ข้อ ๖ กำาหนดว่า อนุสัญญานี้
ไม่ใช้บังคับกับข้าราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารของรัฐ และกรณีทหาร
และตำารวจ ข้อ ๕ ข้อย่อย ๑ ระบุว่า การใช้บังคับกับกองกำาลังทหารและตำารวจต้องกำาหนดไว้ในกฎหมาย ทำาให้
ข้าราชการ ทหาร และตำารวจบางกลุ่มไม่อาจรวมตัวหยุดงานได้
๒.๓.๒) การเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติเข้าเมืองโดยไม่ถูกกฎหมาย มีสิทธิ
ในการรวมตัว เห็นว่า การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว จะช่วยให้มีการตรวจสอบและควบคุมแรงงานกลุ่มนี้
ได้ง่ายขึ้นมากกว่า
๒.๓.๓) เป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานรวมตัวกันเป็นสหภาพจำานวนมาก
เห็นว่า ในประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับนี้ จะมีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขนาดใหญ่ มีความเข้มแข็ง
มีอำานาจต่อรองสูง เพียงไม่กี่สหภาพ
๒.๔) การไม่เข้าเป็นภาคีอาจจะมีผลกระทบต่อการทำางานและคนทำางาน เมื่อมี