Page 104 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 104
102 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) เพราะอาจจะมี
การละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวของแรงงานทั้ง ๑๐ ประเทศ
๒.๕) ประเด็นร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... กับความสอดคล้องอนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ มีความเห็น ดังนี้
๒.๕.๑) ร่างพระราชบัญญัติยังคงใช้คำาว่า “ลูกจ้าง” เห็นว่า ขัดต่ออนุสัญญา
เนื่องจากในอนุสัญญาใช้คำาว่า “คนทำางาน” ซึ่งมีความหมายรวมถึงคนทำางานทุกประเภท
๒.๕.๒) หลักการจัดตั้งสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง
สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้าง และการควบสมาคมนายจ้าง ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ
กำาหนดให้ยื่นขอรับใบสำาคัญรับรองต่ออธิบดี เห็นว่า ยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา การแก้ไข เช่น การจดทะเบียน
ยังคงเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐแทรกแซงได้ ซึ่งหากจะให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่แทรกแซง อาจจะบัญญัติหลักเกณฑ์
เหมือนเรื่องคณะกรรมการลูกจ้าง เพียงไปแจ้งก็ถือว่าเป็นคณะกรรมการลูกจ้างแล้ว ไม่ใช่แจ้งแล้วต้องมีระเบียบ
ข้อบังคับต่างๆ
๒.๕.๓) เมื่อที่ประชุมใหญ่ได้เลือกตั้งคณะกรรมการแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งต่อ
อธิบดี ภายใน ๑๔ วัน (สิทธิคัดเลือกผู้แทน) (ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๙ และ
มาตรา ๘๙) และเมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแล้ว ให้สมาคมนายจ้างมีหนังสือแจ้งต่ออธิบดี
ภายใน ๑๔ วัน (สิทธิยกร่างธรรมนูญ) (ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๖๗ และมาตรา ๙๙)
เห็นว่า การแจ้งควรมีความหมายเพียงเพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงบันทึกไว้ ไม่ควรระบุระยะเวลา
๒.๕.๔) อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอำานาจ (๑) เข้าไปในสำานักงานของ
สหภาพแรงงานในเวลาทำาการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำาเนินกิจการของสหภาพแรงงาน (๒) ให้กรรมการ
พนักงาน หรือลูกจ้างของสหภาพแรงงาน ส่งหรือแสดงเอกสารหรือบัญชีของสหภาพแรงงานเพื่อประกอบการ
พิจารณากรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น (๓) สอบถามบุคคลในข้อ (๒) หรือเรียกบุคคลดังกล่าวมาเพื่อสอบถามหรือ
ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำาเนินกิจการของสหภาพแรงงาน (สิทธิจัดระบบบริหารงานและกิจกรรม)
(ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๑๐๒ และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. .... มาตรา ๕๗) เห็นว่า การเขียนให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำานาจดำาเนินการต่างๆ นั้น ขัดต่อ
อนุสัญญา
๒.๕.๕) การสั่งให้กรรมการหรือคณะกรรมการของสมาคมนายจ้างหรือ
สหภาพแรงงานออกจากตำาแหน่งได้ เมื่อปรากฏว่า (๑) กระทำาการอันมิชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการขัดขวาง
การปฏิบัติงานตามหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาท ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือคณะกรรมการแรงงาน
สัมพันธ์ (๒) ดำาเนินกิจการไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสมาคมนายจ้างอันเป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความ
สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ (๓) ให้ หรือยินยอม
ให้ผู้ใดซึ่งมิใช่กรรมการเป็นผู้ดำาเนินกิจการของสมาคมนายจ้าง/สหภาพแรงงาน (ร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
สัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๑ และมาตรา ๑๐๓ และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ....
มาตรา ๕๘) เห็นว่า ไม่ขัดกับอนุสัญญา เนื่องจากเป็นกรณีที่กรรมการหรือคณะกรรมการของสมาคมนายจ้าง
หรือสหภาพแรงงานกระทำาผิด