Page 102 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 102
100 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ทั้งนี้ อนุสัญญาฯ ได้รับรองว่า คนทำางานต้องสามารถรวมตัวกันไม่ว่าจะมีความต่างกันด้านอาชีพ เพศ เชื้อชาติ
สัญชาติ
๑.๓) แบบแผนของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงาน
ใช้การแก้กฎหมายภายในแล้วจึงเข้าเป็นภาคี โดยกระทรวงแรงงานจะเชิญองค์การเอกชน และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็น และการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรงงานส่วนใหญ่เกิดขึ้นในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
โดยหลักการเมื่อรัฐภาคีเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับใด รวมถึงฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ รัฐภาคีซึ่งในที่นี้
คือ ประเทศไทยจะมีระยะเวลา ๑ ปี สำาหรับปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและแนวทางปฏิบัติภายในให้สอดคล้อง
กับอนุสัญญานั้น ระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ประเทศไทยสามารถขอคำาปรึกษาหรือคำาแนะนำาจากผู้เชี่ยวชาญ
ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศได้ ซึ่งเห็นว่าควรที่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาก่อน แล้วจึงตั้งคณะทำางานเพื่อ
แก้กฎหมาย โดยคณะทำางานจะมีหน้าที่ในการสำารวจกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา นอกจากนี้ เห็นว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่นด้วยไม่ใช่เพียง
กระทรวงแรงงาน จึงไม่ควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามกฎหมายนี้
๑.๔) ในอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับ หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดบริการสาธารณะ
หมายรวมถึง รัฐวิสาหกิจและเอกชน ส่วนประเทศไทยจะหมายถึงรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
กล่าวคือ บริการสาธารณะบางอย่างของไทยก็จัดโดยเอกชน และรัฐวิสาหกิจบางแห่งก็ไม่ได้จัดบริการสาธารณะ
เมื่อมีการนัดหยุดงานในหน่วยงานที่จัดบริการสาธารณะ กฎหมายบางประเทศกำาหนดให้ฝ่ายที่นัดหยุดงานต้อง
่
จัดให้มีบริการขั้นตำาทดแทน ตัวอย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศส ได้ออกกฎหมายกำาหนดให้ก่อนการนัดหยุดงาน
ในบริการขนส่งสาธารณะต้องมีการแจ้งให้ผู้ใช้บริการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย
๔๘ ชั่วโมง เพื่อจะให้ผู้ใช้บริการเตรียมไปใช้การเดินทางในทางอื่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้
เตรียมการแก้ปัญหาล่วงหน้า ระหว่างนั้นให้มีกลไกเจรจาต่อรอง
๑.๕) สำาหรับการห้ามนัดหยุดงานหลายประเทศกำาหนดให้ใช้เฉพาะในกิจการที่
เป็นการบริการสาธารณะที่เกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง เช่น กิจการสถานพยาบาล กิจการ
ไฟฟ้า กิจการประปา กิจการที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทางอากาศ แต่ต้องมีกลไกวินิจฉัยข้อเรียกร้อง ส่วนกฎหมาย
แรงงานของประเทศไทยบัญญัติห้ามการนัดหยุดงานในรัฐวิสาหกิจและให้มีกลไกเจรจาต่อรอง
๑.๖) อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๙๘ ข้อ ๕ กำาหนดว่า ขอบเขตที่เป็นหลักประกันตาม
อนุสัญญานี้ ในการใช้บังคับกับกองกำาลังทหารและตำารวจต้องกำาหนดไว้ในกฎหมายหรือข้อบังคับ ทหารและตำารวจ
ในที่นี้หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่หลักในการดูแลและรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศหรือสังคม (ผู้ถืออาวุธ) ไม่รวม
เจ้าหน้าที่หรือตำารวจอื่น โดยหลักการเจ้าหน้าที่ตำารวจที่ไม่ถืออาวุธ ข้าราชการ มีสิทธิในการรวมตัวและร่วมเจรจา
ต่อรอง ส่วนเจ้าหน้าที่ตำารวจและทหารที่ถืออาวุธ รัฐต้องจัดให้มีคณะกรรมการพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าว
ซึ่งต้องมีความเป็นอิสระในการวินิจฉัยข้อเรียกร้อง
๑.๗) ส่วนข้อกังวลว่าแรงงานข้ามชาติจะมีสิทธิในการจัดตั้งสหภาพหรือการรวมตัว
มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ ไม่ใช่ข้อจำากัดตามอนุสัญญาฯ ฉบับที่ ๘๗ หรือฉบับที่ ๙๘ แต่อนุสัญญาฯ
จะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม
๑.๘) ในเรื่องการจดทะเบียน ควรจะเปลี่ยนเป็นการจดแจ้ง โดยอาจจะกำาหนด
สิทธิประโยชน์ที่ได้จากการจดแจ้ง ซึ่งต้องเปลี่ยนกรอบความคิดจากการควบคุมเป็นการส่งเสริม ส่วนข้อ