Page 100 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 100

98   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               และดำาเนินการปรับปรุงร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์  โดยยึดตามแนวอนุสัญญาทั้งสองฉบับ  โดยมีการยกร่าง

               ประมวลกฎหมายแรงงานขึ้นใหม่

                                 ๘)  ผู้แทนของกรมก�รปกครอง
                                     การเข้าเป็นภาคีก่อนหรือการจะแก้ไขกฎหมายภายในก่อนนั้น ที่ผ่านมาประเทศไทย

               ใช้ทั้งสองแนวทาง  สำาหรับการเข้าเป็นภาคีทั้งสองฉบับนี้ ควรจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่ามีข้อกำาหนดให้
               ต้องมีกฎหมายภายในรองรับก่อนหรือไม่ ประการใด

                                 ๙)  ผู้แทนของสำ�นักง�นตรวจคนเข้�เมือง
                                     แรงงานข้ามชาติ ๓ สัญชาติ ที่ผ่านเรื่องการพิสูจน์สัญชาติแล้วแต่ยังไม่มีใบอนุญาต

               ทำางาน หรือแรงงานข้ามชาติแบบเช้าไปเย็นกลับ ไม่สมควรให้สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ เนื่องจากอาจมี
               ระยะเวลาทำางานสั้น การรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน อาจเกิดปัญหาได้

                                ๑๐)   ผู้แทนของสำ�นักง�นคณะกรรมก�รข้�ร�ชก�รพลเรือน

                                     สำานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทำากฎหมาย
               ให้ข้าราชการสามารถตั้งสหภาพแรงงานได้ โดยกำาหนดให้เฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญเท่านั้น

                                     ไม่รวมเจ้าหน้าที่รัฐประเภทอื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีมากกว่า
               เจรจาต่อรอง โดยเขียนข้อห้ามไว้ชัดเจนว่า  การนัดหยุดงานที่กระทบต่อประสิทธิภาพของการบริหารราชการ
               แผ่นดิน นายทะเบียนมีอำานาจเพิกถอนสหภาพได้ทันที

                                                         ๒๘
                                ๑๑)  กระทรวงก�รต่�งประเทศ    ได้ให้ความเห็น ดังนี้
                                     กระทรวงการต่างประเทศไม่มีข้อขัดข้องต่อการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับ
               ทั้งนี้ กระบวนการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศควรมีกฎหมายภายในรองรับก่อน อนึ่ง เนื่องจาก

               อนุสัญญาฯ เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๒๓ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
               พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา  ดังนั้น การให้สัตยาบัน

               อนุสัญญาฯ นี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย

                           ๔.๓.๒  การรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน

                                 ๑) ผู้แทนของสภ�องค์ก�รน�ยจ้�งแห่งประเทศไทย สภ�หอก�รค้�ไทย (สม�คมอ�ห�ร
               แช่เยือกแข็ง) และสภ�อุตส�หกรรมแห่งประเทศไทย
                                     ประเทศไทยควรแก้ไขกฎหมายภายในก่อนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ  ส่วนร่างพระราช-

               บัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่าง
               การพิจารณาของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังรองรับอนุสัญญาทั้งสองฉบับไม่ครบถ้วน  ลูกจ้างที่มี

               สิทธิตามอนุสัญญา ควรเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย  การให้แรงงานข้ามชาติได้รับการคุ้มครองตาม
               อนุสัญญา ILO และกฎหมายภายในที่กำาลังแก้ไขควรพิจารณาให้รอบด้าน






               ๒๘  หนังสือกระทรวงการต่างประเทศ ด่วนที่สุด ที่ กต ๑๐๐๒/๙๙๕ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105