Page 93 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 93
91
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ได้มีการศึกษาเอกสาร จัดประชุมรับฟังความเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน
จัดสัมมนาและแลกเปลี่ยนความเห็นโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงานเป็นวิทยากร ศึกษาอนุสัญญาองค์การ
แรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และ
ฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นอนุสัญญาหลักที่ใช้ในการศึกษาในเรื่องนี้
๔. ข้อมูลประกอบการพิจารณา
๔.๑ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และ
การคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจา
ต่อรอง
ส่วนราชการได้มีเจตนาที่จะให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และ
ฉบับที่ ๙๘ มาโดยตลอด ซึ่งกระทรวงแรงงานได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และ
ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับ แต่ยังมีหลักการ
บางประการที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา ทั้งนี้ อนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับมีสาระสำาคัญ ดังนี้
๔.๑.๑ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ มีสาระสำาคัญ ดังนี้
๑) นายจ้างและคนทำางานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนทำางานในภาครัฐ หรือเอกชน ไม่ว่าจะเป็น
แรงงานในระบบหรือแรงงานนอกระบบ มีสิทธิที่จะรวมตัวจัดตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรของตน เพื่อปกป้อง
ผลประโยชน์ของตนได้อย่างอิสระโดยไม่จำาเป็นต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากหน่วยงานใด
๒) การรวมตัวนั้นเป็นไปได้อย่างเสรี ปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากความ
แตกต่างทางด้านเชื้อชาติ อาชีพ ศาสนา เพศ อายุ ความคิดเห็นทางการเมือง สีผิว
๓) มีเสรีภาพในการที่จะยกร่างธรรมนูญข้อบังคับขององค์กรตนเอง และคัดเลือกผู้แทน
ของตน และการจัดการบริหารองค์กรของตนโดยที่รัฐจะต้องหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปแทรกแซงหรือจำากัดสิทธิดังกล่าว
๔) องค์กรนายจ้างและองค์กรแรงงานมีสิทธิและเสรีภาพที่จะจัดตั้งหรือเข้าร่วมกิจกรรม
และเป็นสมาชิกขององค์กรระดับสหพันธ์ หรือสภา รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศได้
๔.๑.๒ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๙๘ มีสาระสำาคัญ ดังนี้
๑) รัฐต้องคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวจากการกระทำาใดๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติในการ
จ้างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำาที่ทำาให้แรงงานไม่สามารถเข้าร่วมสหภาพแรงงานได้ หรือต้องออกจาก
การเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานหรือการเลิกจ้าง เพราะการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานหรือมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมของสหภาพแรงงาน
๒) รัฐมีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครองแก่องค์กรของนายจ้างและองค์กรแรงงานให้ปลอดจาก
การแทรกแซงกันและกัน
๓) รัฐต้องดำาเนินการพัฒนากระบวนการต่างๆ ให้กฎหมายคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวและ
การเจรจาต่อรองร่วมสามารถบังคับใช้ได้จริง