Page 92 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 92
90 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๑๘๙ ฉบับ ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญา ๑๕ ฉบับ โดยเป็นภาคีอนุสัญญาหลัก ๕ ฉบับ จากจำานวน ๘ ฉบับ
โดยอนุสัญญาหลักที่ไทยยังไม่ได้เป็นภาคี ได้แก่ อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ ฉบับที่ ๙๘ และฉบับที่ ๑๑๑ ว่าด้วย
การไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงานและประกอบอาชีพ
ผู้แทนรัฐบาลไทยได้ให้คำามั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไกการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ
ของสหประชาชาติ (Universal Periodic Review : UPR) รอบที่หนึ่ง (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔) ว่าจะเข้า
เป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ และมีการแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นกิจกรรมหนึ่ง นอกจากนี้ การเข้าเป็นภาคี
อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ เป็นข้อเรียกร้องของขบวนการแรงงานไทย
อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา และขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานก็ได้มีการเตรียมการให้
สัตยาบันต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ทั้งสองฉบับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน
ควบคู่กับการจัดทำาร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ พ.ศ. .... ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... เพื่อระดมความคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องเพื่อนำาไปเป็นข้อมูลประกอบการเสนอร่างกฎหมาย เมื่อวันที่ ๒๑
พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยที่ประชุมได้มีความเห็นให้ถอนร่างกฎหมายแรงงาน
ทั้งสองฉบับที่เสนอคณะรัฐมนตรีกลับมาพิจารณาใหม่
๒. อำานาจหน้าที่
อาศัยอำานาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ และ
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓) บัญญัติให้คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจหน้าที่ “เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อ
บังคับต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” และมาตรา ๑๕ (๘) บัญญัติให้คณะ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจหน้าที่ “เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาในกรณีที่ประเทศไทย
จะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน”
เมื่อพิจารณาหลักการของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพ
ในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจา
ต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน จึงเห็นควรศึกษาและจัดทำาข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการ
ปรับปรุงกฎหมายในเรื่องนี้
๓. การดำาเนินการ
ในการจัดทำาข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และ
ฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน คณะอนุกรรมการ
ด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน