Page 89 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 89

87
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ มีอำานาจหน้าที่พิจารณาว่าบุคคลใดอยู่ในข่ายตามหลักการในมาตรานี้

                  รวมทั้ง บัญญัติให้มีความเชื่อมโยงระหว่างอำานาจหน้าที่ประการนี้ของคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ
                  และของกลไกพิจารณาส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายอื่น  ขณะเดียวกันก็จำาเป็นต้องแก้ไข

                  เพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเพื่อให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้กฎหมายนั้นทราบและ
                  ปฏิบัติตามด้วย  ตัวอย่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติ
                  ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฯลฯ

                                    รัฐสภา คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) กระทรวง
                  การต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ และ

                  กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                                    ๑)  แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๔ โดยเพิ่มข้อความว่า หากมีข้อสงสัย

                  หรือเป็นที่เชื่อว่าการส่งบุคคลนั้นออกนอกราชอาณาจักรจะส่งผลให้ผู้นั้นถูกกระทำาทรมานหรือถูกบังคับให้สูญหาย
                  ให้เจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (ตามร่างพระราชบัญญัติฯ) ขอให้ชะลอการส่งตัวผู้นั้นออกนอก

                  ราชอาณาจักรได้
                                    ๒)  แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒  พระราชบัญญัติส่งผู้ร้าย

                  ข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ สนธิสัญญา
                  ส่งผู้ร้ายข้ามแดนฉบับต่างๆ เพื่อประกันว่า

                                        ๒.๑)  จะมีหลักการว่าด้วยการไม่ส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักร  หากเป็น
                  ที่เชื่อว่าจะส่งผลให้ผู้นั้นได้รับอันตรายแก่ชีวิตและร่างกาย รวมถึงถูกกระทำาทรมานหรือถูกบังคับให้สูญหาย

                  รวมทั้งมีบทบัญญัติที่มีความเชื่อมโยงและรองรับกับอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ
                  ในการพิจารณาการส่งบุคคลออกนอกราชอาณาจักรตามหลักการดังกล่าว

                                        ๒.๒)  ได้รวมความผิดฐานกระทำาทรมานและการกระทำาให้บุคคลสูญหายโดย
                  ถูกบังคับไว้เป็นความผิดที่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน และความผิดในการกระทำา
                  ให้บุคคลสูญหายไม่เป็นความผิดทางการเมือง หรือเกี่ยวกับความผิดทางการเมือง หรือความผิดที่กระทำาเพราะ

                  จุดมุ่งหมายทางการเมือง ซึ่งไม่อาจใช้เหตุผลดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธคำาขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน  ทั้งนี้ เพื่อให้
                  สอดคล้องตามหลักการในอนุสัญญา CAT ข้อ ๘ และอนุสัญญา CPED ข้อ ๑๓

                             ๗.๒.๔  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคล

                  ให้สูญหายและคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

                                    ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๕  กำาหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและ
                  ปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย (คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ) ว่าประกอบด้วย
                  กรรมการโดยตำาแหน่ง ๑๑ คน ส่วนใหญ่เป็นผู้แทนหน่วยงานของรัฐ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๖ คน ซึ่งอาจเป็น

                  เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่มีผู้แทนของผู้เสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบ จึงอาจเพิ่มกรรมการที่เป็นผู้แทนของผู้เสียหาย
                  คดีทรมานและผู้แทนของผู้เสียหายคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย  ส่วนมาตรา ๒๖ ซึ่งให้อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ

                  และเสรีภาพมีอำานาจหน้าที่จัดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น ไม่ได้ประกันการมีส่วนร่วม
                  จากภาคประชาสังคม
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94