Page 90 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 90
88 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
รัฐสภา คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ ดังนี้
๑) ควรเพิ่มเติมกรรมการที่เป็นผู้แทนของผู้เสียหายคดีทรมาน ๑ คน และผู้แทนของ
ผู้เสียหายคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย ๑ คน โดยควรคำานึงถึงสัดส่วนของผู้หญิงและผู้ชาย
๒) ควรเพิ่มเติมให้มีผู้แทนภาคประชาสังคมเป็นกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๗.๒.๕ การสืบสวนสอบสวนคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย
ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๘ วรรคสาม บัญญัติว่าการมอบหมายพนักงานสอบสวน
และพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ให้คำานึงถึงหลักประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดกันของตำาแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหากับผู้เป็น
พนักงานสอบสวน ซึ่งอาจไม่ประกันว่าพนักงานสอบสวน/พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีทรมานและคดีบังคับ
บุคคลให้สูญหายแล้วแต่กรณี และผู้ถูกสอบสวนจะไม่อยู่ภายใต้สังกัดหน่วยงานเดียวกัน
รัฐสภา คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๘ ว่า ผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงาน
สอบสวนและพนักงานผู้รับผิดชอบคดีทรมาน และคดีบังคับบุคคลให้สูญหายต้องไม่อยู่ในหน่วยงานของรัฐ
สังกัดเดียวกับผู้ถูกสอบสวน
๗.๒.๖ การกำาหนดสถานะทางกฎหมายของผู้ถูกบังคับให้สูญหายและญาติ และการ
คุ้มครองเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการถูกบังคับให้สูญหาย
ร่างพระราชบัญญัติฯ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของบุคคลที่ถูกบังคับ
ให้สูญหายและสถานะทางกฎหมายของญาติของบุคคลดังกล่าว และแม้ร่างพระราชบัญญัติฯ มีบทเพิ่มโทษ
สำาหรับการกระทำาผิดคดีทรมานและคดีบังคับให้สูญหายที่ผู้กระทำาเป็นเด็ก แต่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการ
ป้องกันและลงโทษต่อผู้กระทำาผิดคดีบังคับบุคคลให้สูญหายที่มีผู้เสียหายเป็นเด็ก หรือที่เด็กเป็นผู้ได้รับผลกระทบ
จากการกระทำาดังกล่าว เช่น เด็กที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองถูกบังคับให้สูญหาย หรือเด็กที่เกิดระหว่างมารดา
ถูกใช้กำาลังบังคับให้สูญหาย เป็นต้น อันไม่สอดคล้องตามอนุสัญญา CPED ข้อ ๒๕ วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ และ
ข้อ ๒๔ วรรคหก
คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติฯ ดังนี้
๑) กำาหนดสถานะทางกฎหมายของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายซึ่งยังไม่ทราบชะตากรรม
และสถานะทางกฎหมายของญาติของบุคคลดังกล่าว
๒) กำาหนดมาตรการป้องกันและลงโทษผู้กระทำาผิดคดีบังคับบุคคลให้สูญหายที่มีผู้เสียหาย
เป็นเด็ก หรือที่เด็กเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับบุคคลให้สูญหาย รวมทั้งไม่ให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
หรืออุปการะเด็กซึ่งมีที่มาจากการที่บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย