Page 88 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 88
86 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ยุติธรรม หรือจากการใช้นโยบาย หรือการบริหาร หรือการกระทำาที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชน รวมถึง
ผู้ได้รับความเสียหายคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย สำาหรับเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐนำาไป
ปฏิบัติอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน
๗.๒ ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
๗.๒.๑ การกระทำาหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี (CID)
ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓ (๒) ได้นิยามคำาว่า การกระทำาหรือการลงโทษที่โหดร้าย
่
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าหมายถึงการกระทำาลักษณะใดบ้าง และไม่มีบทกำาหนดโทษ
สำาหรับการกระทำาดังกล่าว อนุสัญญา CAT ก็ไม่ได้กำาหนดอย่างชัดเจนว่าการกระทำาใดบ้างที่เข้าข่าย CID และไม่ได้
ระบุให้รัฐภาคีต้องกำาหนดให้การกระทำาดังกล่าวเป็นความผิดอาญา
รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ควรแก้ไข
เพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๕ ว่าผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำาการที่เป็นการกระทำาหรือการลงโทษ
่
ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี ให้พิจารณาโทษอาญา และอาจรับผิดตามกฎหมาย ระเบียบอื่น เช่น
ทางวินัย ทางแพ่ง ทางปกครอง หรือทางการเมืองด้วยก็ได้ เป็นต้น
๗.๒.๒ บทลงโทษคดีทรมาน/คดีบังคับบุคคลให้สูญหายและการสืบสวนคดีบังคับบุคคล
ให้สูญหาย
ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๕ - ๗ ได้กำาหนดบทลงโทษการกระทำาผิดคดีทรมานและ
คดีบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นโทษจำาคุกและโทษปรับตามระดับความร้ายแรงของการกระทำาผิด มีโทษจำาคุก
ตลอดชีวิตเป็นโทษสูงสุด อันสอดคล้องกับแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑) ว่าด้วย
แผนสิทธิมนุษยชนด้านกระบวนการยุติธรรม ขณะเดียวกันก็ควรมีมาตรการที่ประกันความปลอดภัยให้แก่สังคมว่า
ผู้กระทำาผิดร้ายแรงคดีดังกล่าวจะไม่ถูกปล่อยตัวเร็วกว่าโทษที่กำาหนด และมาตรา ๑๖ ซึ่งบัญญัติให้ดำาเนินคดีบังคับ
บุคคลให้สูญหายจนกว่าจะพบบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย หรือปรากฏหลักฐานว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตายนั้น
ไม่ประกันว่าผู้กระทำาผิดจะได้รับการลงโทษ
รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๕ และ ๖ ว่ามิให้ใช้มาตรการอัน
เป็นคุณแก่นักโทษเด็ดขาดคดีทรมาน/คดีบังคับบุคคลให้สูญหายที่เป็นความผิดร้ายแรง จนกว่าระยะเวลารับโทษ
เกินกว่ากึ่งหนึ่งของโทษหรือภายในระยะเวลาที่กำาหนด และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๖ จากให้สืบสวนจนกว่าจะพบ
บุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย หรือปรากฏหลักฐานว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย เป็นจนกว่าจะสามารถนำาผู้กระทำาผิด
มาลงโทษ
๗.๒.๓ ข้อห้ามไม่ให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐส่งตัวบุคคลออกนอก
ราชอาณาจักร
ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๔ กำาหนดหลักการว่า ให้ส่งบุคคลออกนอกราชอาณาจักร
ยกเว้น หากการส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักรนั้น เป็นที่เชื่อว่าจะส่งผลให้ผู้นั้นถูกกระทำาทรมานหรือ
ถูกบังคับให้สูญหาย เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฯ ไม่มีบทบัญญัติถึงแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ จึงอาจกำาหนดให้