Page 87 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 87
85
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
เป็นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานสอบสวนรับผิดชอบคดี (มาตรา ๓๖ – ๓๘) ในการสอบสวนคดีอาญา กระทรวง
มหาดไทยมีข้อบังคับ ว่าด้วยระเบียบการดำาเนินคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ - ๗ บัญญัติให้พนักงาน
ฝ่ายปกครองสามารถสอบสวนหรือร่วมสอบสวน หรือร่วมสอบสวนคดีอาญาในท้องที่ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
นายอำาเภอ ปลัดอำาเภอหัวหน้าประจำากิ่งอำาเภอ มีอำานาจควบคุมการสอบสวนคดีอาญาในเขตอำานาจจังหวัด
อำาเภอ และกิ่งอำาเภอ ตามลำาดับ แต่ไม่มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการรับแจ้งคดี การดำาเนินคดีอาญา
คดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย
นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบสวนสอบสวนแก่พนักงานสอบสวนให้
สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายตาม
ร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ ควรให้มีมาตรการ กลไก หรือเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำางานของพนักงานสอบสวน
เช่น เครื่องจับเท็จ เทคโนโลยีทางนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องจึงควรบัญญัติให้ชัดเจนว่า ให้คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ มีอำานาจหน้าที่มอบหมาย
พนักงานอัยการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครอง โดยให้พนักงานอัยการเป็นหัวหน้า
พนักงานสอบสวนเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (มาตรา ๓๒ (๖) และมาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง)
คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึง สำานักงาน
อัยการสูงสุด จึงควรพิจารณาบัญญัติ หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ระเบียบ ข้อบังคับภายใต้ความรับผิดชอบเพื่อรองรับ
การทำาหน้าที่ในการสอบสวนคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหายของอัยการสูงสุด พนักงานอัยการ และ
พนักงานฝ่ายปกครอง ตามลำาดับ ที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดตามร่างพระราชบัญญัติฯ นี้
คณะรัฐมนตรี โดยสำานักงานตำารวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดสรร
ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเพียงพอในการจัดให้มีมาตรการ กลไก หรือเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำางานของ
พนักงานสอบสวน เช่น เทคโนโลยีทางนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
๗.๑.๕ หลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหาย
ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๒ (๗) และ (๘) กำาหนดให้คณะกรรมการตามร่างพระราช-
บัญญัติฯ มีอำานาจหน้าที่กำาหนดนโยบาย มาตรการฟื้นฟูและเยียวยาด้านร่างกายและจิตใจแก่ผู้เสียหาย ช่วยเหลือ
และเยียวยาผู้เสียหายทั้งทางการเงินและทางจิตใจ และการฟื้นฟูระยะยาวทางการแพทย์ แต่ไม่มีบทบัญญัติ
เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือและเยียวยาดังกล่าว โดยที่ผู้ได้รับความเสียหายจากคดีทรมานและ
คดีบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นลักษณะหนึ่งของผู้เสียหายจากการกระทำาของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐ เนื่องจากข้อบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม หรือจากการใช้นโยบาย หรือการบริหาร หรือการกระทำา
ที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชน ที่ผ่านมา การช่วยเหลือและเยียวยาทางการเงินแก่ผู้เสียหายจากการ
กระทำาของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเนื่องจากสาเหตุดังกล่าว จะมีหลักเกณฑ์และอัตราในการจ่าย
ค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหาย แตกต่างกันไปตามกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับ ซึ่งไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
รัฐสภา คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือและเยียวยาทางการเงินแก่ผู้ได้รับ
ความเสียหายจากการกระทำาของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากข้อบกพร่องของกระบวนการ