Page 85 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 85
83
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ตามร่างพระราชบัญญัติฯ มีอำานาจหน้าที่มอบหมายพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำานาจสอบสวน
คดีอาญา เป็นพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี และมาตรา ๓๙ บัญญัติให้พนักงานสอบสวน
ผู้รับผิดชอบคดีเสนอความเห็นต่ออัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลอาญา ซึ่งบทบัญญัติของร่าง
พระราชบัญญัติฯ ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีทั้งสองฐานความผิดมากนัก
จึงควรบัญญัติให้ชัดเจนว่า ให้คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ มีอำานาจหน้าที่มอบหมายพนักงานอัยการ
สอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครอง โดยให้พนักงานอัยการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน
เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (มาตรา ๓๒ (๖) และมาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง)
นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ มีบทบัญญัติให้พนักงานฝ่ายปกครองมีอำานาจหน้าที่ดำาเนิน
คดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย เช่น ให้พนักงานฝ่ายปกครองรับแจ้งคดีทรมานและคดีบังคับบุคคล
ให้สูญหาย (มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง) อาจได้รับมอบหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือสนับสนุนหรือร่วมปฏิบัติหน้าที่
ตามร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ (มาตรา ๓๗) หรือได้รับมอบหมายเป็นพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวน
รับผิดชอบคดี (มาตรา ๓๘) ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยมีข้อบังคับกระทรวงฯ ว่าด้วยระเบียบการดำาเนิน
คดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๓ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๓ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๕
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๗ และ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้พนักงานฝ่ายปกครองสามารถ
ทำาการสอบสวนหรือร่วมในการสอบสวน หรือร่วมในการสอบสวนคดีอาญาในท้องที่ (ข้อ ๔.๓) รวมทั้งให้
ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำาเภอ ปลัดอำาเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำากิ่งอำาเภอ มีอำานาจการควบคุมการสอบสวน
ความผิดอาญาในเขตอำานาจของจังหวัด อำาเภอ และกิ่งอำาเภอ ตามลำาดับ (ข้อ ๑๒.๔, ๑๒.๕ และ ๑๒.๖) แต่ยัง
ไม่มีกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ สำาหรับพนักงานฝ่ายปกครองเกี่ยวกับการรับแจ้งคดี การดำาเนินคดีอาญา รวมถึง
คดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย
๖.๑๐.๒ ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๘ วรรคสาม บัญญัติว่า การมอบหมายพนักงานสอบสวน
และพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ให้คำานึงถึงหลักประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดกันของตำาแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหากับผู้เป็น
พนักงานสอบสวน เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวน หรือพนักงานสอบสวน
ผู้รับผิดชอบคดีฯ แล้วแต่กรณี และผู้ถูกสอบสวนอยู่ในหน่วยงานของรัฐสังกัดเดียวกัน อาจเพิ่มเติมข้อความ
ให้ชัดเจนว่า ผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนและพนักงานผู้รับผิดชอบคดีทรมานและคดีบังคับบุคคล
ให้สูญหายต้องไม่อยู่ในหน่วยงานของรัฐสังกัดเดียวกับผู้ถูกสอบสวน
๗. ข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
จากความเห็นข้างต้น คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเห็นควรมีข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายต่อ
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... ดังนี้
๗.๑ ข้อเสนอแนะนโยบาย
๗.๑.๑ การตราเป็นกฎหมาย
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย