Page 86 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 86
84 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
พ.ศ. .... มีเจตนารมณ์เพื่อรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ อนุสัญญา
่
ต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี (CAT) และ
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (CPED)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นด้วยกับการเสนอเป็นกฎหมายพิเศษต่างหาก
ในลักษณะพระราชบัญญัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และเห็นว่ารัฐสภา และคณะรัฐมนตรีควรพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว โดยนำาข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบการพิจารณาดำาเนินการและแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวต่อไป
๗.๑.๒ การรองรับระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่ซึ่งทำาให้บุคคลเสื่อมเสียอิสรภาพ
ในระหว่างที่ประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CAT คณะรัฐมนตรี
โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน)
กระทรวงกลาโหม สำานักงานตำารวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สำานักงาน
กิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา) กระทรวงสาธารณสุข (กรม
สุขภาพจิต) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรสนับสนุนระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่ซึ่งทำาให้บุคคลเสื่อมเสียอิสรภาพ
โดยแจ้งหรือสร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดที่รับผิดชอบดูแลสถานที่ ซึ่งทำาให้
บุคคลเสื่อมเสียอิสรภาพรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภายใต้การกำากับดูแล หรืออื่นใด
เพื่อเตรียมรองรับการเข้าเยี่ยมหรืออำานวยความสะดวกในการเข้าเยี่ยมของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำานาจหน้าที่
๗.๑.๓ การกำาหนดโทษแก่ผู้บังคับบัญชา
ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๙ กำาหนดโทษสำาหรับผู้บังคับบัญชาที่ทราบหรือจงใจ
เพิกเฉยต่อข้อมูลที่ระบุชัดแจ้งว่า ผู้ใต้บังคับบัญชากำาลังจะกระทำาหรือได้กระทำาความผิดคดีทรมานหรือบังคับ
บุคคลให้สูญหาย และไม่ดำาเนินการป้องกันหรือระงับการกระทำาดังกล่าว หรือไม่สอบสวน แต่ไม่มีนิยามคำาว่า
“ผู้บังคับบัญชา” ไว้ในมาตรา ๓ ประกอบกับประธานคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ คือ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงยุติธรรม เห็นได้ว่า ร่างกฎหมายยังไม่มีกลไกที่ประกันว่าผู้กระทำาผิดที่เป็นผู้นำาระดับสูง เช่น เหนือกว่า
ประธานคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ จะได้รับการสอบสวนและดำาเนินการคดีตามกฎหมายนี้
ดังนั้น คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรเพิ่มเติมนิยามคำาว่า “ผู้บังคับบัญชา” ให้ชัดเจน รวมทั้งกำาหนดกลไกสอบสวน
และดำาเนินคดีตามกฎหมายแก่ผู้กระทำาผิดคดีทรมานหรือคดีบังคับบุคคลให้สูญหายที่เป็นผู้นำาหรือมีอิทธิพล
ระดับสูงด้วย
๗.๑.๔ การสืบสวนสอบสวนคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย
ร่างพระราชบัญญัติฯ บัญญัติให้คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ มีอำานาจหน้าที่
มอบหมายพนักงานอัยการ เป็นพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี รวมทั้งให้พนักงาน
สอบสวนผู้รับผิดชอบคดีเสนอความเห็นต่ออัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลอาญา (มาตรา ๓๘
และ ๓๙) แต่ยังมีบทบัญญัติไม่ชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทของพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีทรมานและคดีบังคับ
บุคคลให้สูญหาย นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ บัญญัติให้พนักงานฝ่ายปกครองมีอำานาจหน้าที่ดำาเนินคดี
ทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย เช่น ให้รับแจ้งคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย อาจได้รับมอบหมาย