Page 84 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 84
82 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ของคณะกรรมการฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งที่เป็นกรรมการโดยตำาแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
บางส่วน การเพิ่มกรรมการที่เป็นผู้แทนของผู้เสียหายคดีทรมาน ๑ คน และคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย ๑ คน
น่าจะไม่เป็นการขัดกันของผลประโยชน์ ทั้งยังช่วยให้คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ เข้าใจความรู้สึก
ในมุมมองของผู้เสียหายด้วย
๖.๘.๒ ในการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตาม
ร่างพระราชบัญญัติฯ อาจเพิ่มข้อความ โดยใช้แนวทางตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ ซึ่งบัญญัติว่า “ในการประชุม ถ้ามีการพิจารณาเรื่องที่กรรมการผู้ใดมีส่วนได้ส่วนเสีย
กรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม” หรือตามแนวทางในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๑๓ ซึ่งบัญญัติว่า เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำาการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ (๑) เป็นคู่กรณีเอง (๒) เป็น
คู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี (๓) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดๆ ..... (๔) เป็น
หรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือตัวแทนของคู่กรณี (๕) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้าง
ของคู่กรณี
๖.๘.๓ องค์ประกอบของคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ ควรคำานึงถึงสัดส่วนของผู้หญิง
และผู้ชาย นอกจากนี้ คณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (มาตรา ๒๖) ซึ่งกำาหนดให้เป็นอำานาจของ
อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ควรกำาหนดให้มีผู้แทนภาคประชาสังคมเป็นกรรมการดังกล่าวด้วย
๖.๙ ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๒ (๗) และ (๘) กำาหนดให้คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ
มีอำานาจหน้าที่กำาหนดนโยบาย และมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาด้านร่างกายและจิตใจแก่ผู้เสียหาย
ช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหายทั้งทางการเงินและทางจิตใจ ตลอดรวมถึงการฟื้นฟูระยะยาวทางการแพทย์
ให้กับผู้เสียหาย ซึ่งอาจใช้หลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือและเยียวยาทางการเงินตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทน
ผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ นั้น การจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหาย
ตามพระราชบัญญัติข้างต้น มีหลักเกณฑ์และวิธีการที่เป็นอุปสรรคแก่ผู้เสียหายในการได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว
ทั้งอัตราค่าตอบแทนก็น้อย แตกต่างจากการช่วยเหลือเยียวยาทางการเงินแก่ผู้เสียหายตามกฎหรือระเบียบอื่น
เช่น ระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ว่าด้วยการให้
ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำาของเจ้าหน้าที่รัฐ อันสืบเนื่องจาก
เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้น ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติฯ จึงควรกำาหนด
หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานการช่วยเหลือและเยียวยาทางการเงินแก่ผู้เสียหายคดีทรมานและคดีบังคับบุคคล
ให้สูญหายให้ชัดเจน
อนึ่ง เพื่อมีมาตรฐานในการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาทางการเงินแก่ผู้ได้รับความเสียหายจาก
การกระทำาของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากข้อบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม หรือจากการใช้นโยบาย
หรือการบริหาร หรือการกระทำาที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชน ซึ่งผู้เสียหายจากถูกการกระทำาผิดทรมาน
และบังคับบุคคลให้สูญหายก็อยู่ในข่ายข้างต้น จึงควรกำาหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือและเยียวยาแก่ผู้เสียหาย
จากการกระทำาดังกล่าวอย่างชัดเจน สำาหรับเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐนำาไปใช้ปฏิบัติ
๖.๑๐ การสอบสวนคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย มีประเด็น ดังนี้
๖.๑๐.๑ ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๒ (๖) มาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการ