Page 83 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 83
81
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ส่งตัวบุคคลดังกล่าวอาจทำาให้ผู้นั้นผู้กระทำาทรมานหรือถูกบังคับให้สูญหาย อันช่วยให้หน่วยงานของรัฐ หรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำานาจหน้าที่พิจารณาส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายต่างๆ ทำาหน้าที่
ด้วยความระมัดระวังขึ้น และหากจะให้คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ มีอำานาจหน้าที่ดังกล่าวจำาเป็นต้อง
แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้กฎหมายนั้นทราบและปฏิบัติตาม
ส่วนบทบัญญัติตามกติกา ICCPR ข้อ ๑๓ ที่ให้คนต่างด้าวที่อยู่ในดินแดนของรัฐภาคีโดยชอบกฎหมาย
อาจถูกขับไล่ออกจากรัฐนั้นได้โดยคำาวินิจฉัยตามกฎหมาย และผู้นั้นย่อมสามารถให้เหตุผลคัดค้านและทบทวน
๒๖
ได้นั้น ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเนรเทศฯ (ข้อ ๘) แล้ว และการส่งตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
๒๗
ออกนอกราชอาณาจักร พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ (มาตรา ๓๖) ได้คำานึงถึงความ
ปลอดภัยของผู้เสียหายและบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหาย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการไม่ส่งตัวบุคคลออกนอก
ราชอาณาจักร หากเชื่อได้ว่าส่งผลให้บุคคลนั้นได้รับอันตรายแก่ชีวิตแล้ว
๖.๗.๓ ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ และสนธิสัญญาส่งผู้ร้าย
ข้ามแดนหรือกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อประกันว่าความผิดในการกระทำาให้บุคคล
หายสาบสูญโดยถูกบังคับไม่เป็นความผิดทางการเมือง หรือเกี่ยวกับความผิดทางการเมือง หรือความผิดที่กระทำา
เพราะจุดมุ่งหมายทางการเมือง และไม่อาจใช้เหตุผลดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธคำาขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน รวมทั้ง
ให้รวมความผิดฐานการกระทำาทรมานและกระทำาให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับเป็นความผิดที่สามารถ
ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องตามหลักการในอนุสัญญา CAT ข้อ ๘
อนุสัญญา CPED ข้อ ๑๓
๖.๘ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
(คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ) และคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเห็นดังนี้
๖.๘.๑ ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๕ กำาหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการตามร่างพระราช-
บัญญัติฯว่า ประกอบด้วยกรรมการโดยตำาแหน่ง ๑๑ คน เป็นผู้แทนหน่วยงานรัฐ ๑๐ คน อีก ๑ ตำาแหน่ง คือ
นายกสภาทนายความ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน ด้านการแพทย์ ด้านจิตวิทยา ๖ คน ซึ่งอาจ
เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่มีผู้แทนของผู้เสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบ แม้ว่าร่างกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้เสียหาย
มาให้ความเห็นหรือเป็นพยานในขั้นตอนการสอบสวนได้อยู่แล้ว และการให้มีผู้แทนของบุคคลดังกล่าว อาจเปิด
โอกาสให้มีการขัดกันของผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาองค์ประกอบ
๒๖ มาตรา ๘ ผู้ถูกสั่งเนรเทศมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรี ขอให้เพิกถอนคำาสั่งเนรเทศ หรือขอมิให้ส่งตัวออกไปนอกราชอาณาจักรก็ได้
แต่ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันทราบคำาสั่งเนรเทศ ให้นายกรัฐมนตรีมีอำานาจสั่งเพิกถอนคำาสั่งเนรเทศ สั่งผ่อนผันโดยประการ
อื่นใดหรือสั่งให้ส่งไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใด แทนการเนรเทศตามที่เห็นสมควรได้ทั้งนี้โดยจะให้ทำาทัณฑ์บนไว้ก็ได้
๒๗ มาตรา ๓๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายระหว่างที่อยู่ในความดูแลไม่ว่าบุคคลนั้นจะพำานักอยู่
ณ ที่ใด ไม่ว่าก่อน ขณะ หรือหลังการดำาเนินคดี ทั้งนี้ ให้คำานึงถึงความปลอดภัยของบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหายด้วย
..............................................
ถ้าผู้เสียหายต้องเดินทางกลับประเทศที่เป็นถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำาเนา หรือถ้าบุคคลในครอบครัวของผู้เสียหายอาศัยอยู่ในประเทศ
อื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานในประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะกระทำาผ่าน
สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้นๆ หรือไม่ก็ตาม เพื่อให้มีความคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายและบุคคลในครอบครัว
อย่างต่อเนื่องในประเทศนั้น