Page 82 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 82

80  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               คดีบังคับบุคคลให้สูญหายที่เป็นผู้นำาระดับสูง เช่น ผู้มีอำานาจเหนือกว่าประธานคณะกรรมการตามร่างพระราช-

               บัญญัติฯ จะได้รับการสอบสวนและดำาเนินคดีตามกฎหมายนี้

                     ๖.๕  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๑๖ ซึ่งบัญญัติให้ดำาเนินการสืบสวนคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย
               จนกว่าจะพบบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย หรือปรากฏหลักฐานน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ไม่ประกัน

               ว่าจะมีการลงโทษผู้กระทำาผิด ควรแก้ไขเป็นให้สืบสวนจนกว่าจะสามารถนำาผู้กระทำาผิดมาลงโทษ

                     ๖.๖  แม้ร่างพระราชบัญญัติฯ จะมีบทเพิ่มโทษสำาหรับการกระทำาความผิดฐานทรมานและ
               การบังคับบุคคลให้สูญหายที่กระทำาต่อเด็ก ผู้หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเอง

               ได้แล้ว  แต่ไม่มีบทบัญญัติที่ประกันว่าจะมีมาตรการที่จำาเป็นในการป้องกันและลงโทษต่อการกระทำา

               เกี่ยวกับการขนย้ายเด็กผู้ซึ่งถูกใช้กำาลังบังคับให้หายสาบสูญ  เด็กผู้ซึ่งบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย
               ถูกใช้กำาลังบังคับให้หายสาบสูญ หรือเด็กที่เกิดระหว่างการถูกคุมขังของมารดาที่ถูกใช้กำาลังบังคับให้หายสาบสูญ
               ตลอดจนการทบทวนหรือยกเลิกการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม หรือการอุปการะเด็กซึ่งมีที่มาจากการใช้กำาลังบังคับ

               เพื่อให้หายสาบสูญตามอนุสัญญา CPED ข้อ ๒๕ วรรคหนึ่งและสี่  นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ ไม่มีบทบัญญัติ
               ที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของบุคคลที่หายสาบสูญซึ่งชะตากรรมยังไม่เป็นประจักษ์ และสถานะของ

               ญาติของบุคคลดังกล่าว อันเป็นหลักการที่รับรองไว้ในอนุสัญญา CPED ข้อ ๒๔ วรรคหก
                     ๖.๗  การปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำาการส่งตัว

               บุคคลออกไปนอกราชอาณาจักร หากเป็นที่เชื่อได้ว่าการส่งบุคคลดังกล่าวออกไปจะส่งผลให้บุคคลนั้น

               ถูกกระทำาการทรมานหรือถูกบังคับให้สูญหาย (พระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๔) ควรมีดังนี้
                         ๖.๗.๑  หลักการของมาตรานี้ คือ ห้ามส่งบุคคลออกนอกราชอาณาจักร  หากการส่งตัวบุคคล

               ออกนอกราชอาณาจักรนั้น เป็นที่เชื่อว่าจะส่งผลให้บุคคลนั้นถูกกระทำาทรมานหรือถูกบังคับให้สูญหาย เนื่องจาก
               ร่างพระราชบัญญัติฯ ไม่มีบทบัญญัติถึงแนวปฏิบัติในเรื่องนี้  จึงอาจกำาหนดให้เป็นอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

               ตามร่างพระราชบัญญัติฯ พิจารณาว่า  บุคคลใดอยู่ในข่ายตามหลักการในมาตรานี้  โดยอาจเพิ่มวรรคสองว่า
               หากมีข้อสงสัยหรือเป็นที่เชื่อว่าการส่งบุคคลนั้นออกนอกราชอาณาจักรจะส่งผลให้ผู้นั้นถูกกระทำาทรมานหรือ
               ถูกบังคับให้สูญหาย  ให้เจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ ขอให้ชะลอ

               การส่งตัวผู้นั้นออกนอกราชอาณาจักรได้
                         ทั้งนี้ ควรมีความเชื่อมโยงระหว่างอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ

               และอำานาจหน้าที่ของกลไกตามกฎหมายความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องอาญา เช่น ศาลและสำานักงาน
               อัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนฯ สำานักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมการหรือนายกรัฐมนตรี
               ตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาฯ ฯลฯ  กล่าวคือคณะกรรมการตามร่าง

               พระราชบัญญัติฯ จะทำาหน้าที่รวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริงและทำาความเห็นเบื้องต้นเสนอต่อศาล (พระราชบัญญัติ
               ส่งผู้ร้ายข้ามแดนฯ) หรือคณะกรรมการหรือนายกรัฐมนตรี (พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่อง

               ทางอาญาฯ) แล้วแต่กรณี
                         ๖.๗.๒  เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ ซึ่งประกอบด้วย

               กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่ามีคุณสมบัติที่จะทำาหน้าที่ทักท้วงการส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักร หากการ
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87