Page 81 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 81

79
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  การกระทำาให้ได้รับความอับอาย การลดทอนศักดิ์ศรีของบุคคล  (Humiliating  and  Degrading  Treatment) ว่า

                  เป็นการกระทำาที่เป็นองค์ประกอบของอาชญากรรม (Element of Crimes)  ดังนั้น การกระทำาหรือการลงโทษ
                                              ่
                  อื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำายีศักดิ์ศรีจึงเป็นการกระทำาผิดอาญาเป็นหลัก และอาจรับผิดตามกฎหมาย
                  ระเบียบอื่น เช่น ทางวินัย ทางแพ่ง ทางปกครอง หรือทางการเมืองด้วยก็ได้
                       นอกจากนี้ อนุสัญญา CAT ข้อ ๑๖ กำาหนดว่า ให้รัฐภาคีรับที่จะป้องกันการกระทำาหรือการลงโทษอื่นที่
                                           ่
                  โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี และให้นำาพันธกรณีในข้อ ๑๐ (บรรจุในหลักสูตรฝึกอบรมผู้บังคับใช้
                  กฎหมาย) ข้อ ๑๑ (ทบทวนกฎเกณฑ์ คำาสั่ง วิธีการ แนวปฏิบัติในการไต่สวน ๗ ข้อ ๑๒ (ดำาเนินการสืบสวน
                  โดยพลันโดยปราศจากความลำาเอียง) และข้อ ๑๓ (สิทธิร้องทุกข์ของผู้อ้างว่าถูกทรมาน) มาใช้บังคับ  ดังนั้น

                  หากจะพิจารณาโทษสำาหรับการกระทำา CID ก็อาจกำาหนดว่าให้เป็นไปตามที่กำาหนดไว้ในกฎหมาย หรือกฎ ระเบียบ
                  ที่มีอยู่ขณะนั้น

                        ๖.๒  ร่างพระราชบัญญัติฯ มีเจตนาเพื่ออนุวัติกฎหมายตามอนุสัญญา CAT และอนุสัญญา CPED

                  ยังไม่รวมถึงการอนุวัติกฎหมายพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CAT ว่าด้วยระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่ซึ่งทำาให้
                  บุคคลเสื่อมเสียอิสรภาพและการทำาหน้าที่ของกลไกการป้องกันระดับชาติ (National Preventive Mechanism
                  - NPM) ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคี  ทั้งนี้ รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่มีอำานาจหน้าที่ หรือคณะกรรมการ

                  ตามร่างพระราชบัญญัติฯ แล้วแต่กรณี  อาจสนับสนุนระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่ซึ่งทำาให้บุคคลเสื่อมเสีย
                  อิสรภาพได้ เช่น โดยแจ้งและสร้างความเข้าใจให้แก่หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับผิดชอบดูแล

                  สถานที่ซึ่งทำาให้บุคคลเสื่อมเสียอิสรภาพรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภายใต้การกำากับ
                  ดูแลของหน่วยงานของรัฐ หรืออื่นใด เตรียมความพร้อมรองรับการตรวจเยี่ยม หรืออำานวยความสะดวกในการ
                  เข้าเยี่ยมของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำานาจหน้าที่  ในระหว่างที่ประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของ

                  อนุสัญญา CAT ก็ได้  ส่วนการกำาหนดกฎหมายรองรับระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่ดังกล่าวและการทำางานของ
                  กลไกการป้องกันระดับชาตินั้น เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง

                        ๖.๓  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๕ – ๗  ซึ่งกำาหนดบทลงโทษการกระทำาผิดคดีทรมานและคดีบังคับ

                  บุคคลให้สูญหายเป็นโทษจำาคุกและโทษปรับตามระดับความร้ายแรงของการกระทำาผิด  โดยโทษจำาคุก
                  ตลอดชีวิตเป็นโทษสูงสุด  สอดคล้องกับแนวคิดว่าด้วยการยกเลิกโทษประหารชีวิต  ขณะเดียวกันก็ควรมีมาตรการ

                  ที่ประกันความปลอดภัยให้แก่สังคมว่า  ผู้กระทำาผิดร้ายแรงในคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหายจะ
                  ไม่ถูกปล่อยตัวเร็วกว่าโทษที่กำาหนด เช่น กำาหนดเงื่อนไขว่า มิให้ใช้มาตรการอันเป็นคุณแก่นักโทษเด็ดขาด
                  จนกว่าระยะเวลารับโทษเกินกว่ากึ่งหนึ่งของโทษหรือภายในระยะเวลาที่กำาหนด

                        ๖.๔  ร่างพระราชบัญญัติฯ (มาตรา ๙) ซึ่งกำาหนดโทษสำาหรับผู้บังคับบัญชาที่ทราบหรือจงใจ

                  เพิกเฉยต่อข้อมูลที่ระบุชัดแจ้ง ว่า ผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชากำาลังจะกระทำาหรือได้กระทำาความผิดคดีทรมาน
                  หรือบังคับบุคคลให้สูญหาย และไม่ดำาเนินการที่จำาเป็นและเหมาะสมตามอำานาจเพื่อป้องกันหรือระงับการกระทำา

                  ดังกล่าว  หรือไม่ดำาเนินการให้มีการสอบสวนและดำาเนินคดีตามกฎหมาย ประกอบกับมาตรา ๒๕ และ ๓๒ ซึ่ง
                  กำาหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย (คณะกรรมการ

                  ตามร่างพระราชบัญญัติฯ) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน มีอำานาจหน้าที่สืบสวนข้อร้องเรียน
                  หรือคดีทรมาน หรือคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย ยังไม่ครอบคลุมหรือไม่ประกันว่าผู้กระทำาผิดคดีทรมานหรือ
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86