Page 80 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 80
78 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๕. ........................................
๖. รัฐภาคีแต่ละรัฐจะต้องดำาเนินขั้นตอนที่เหมาะสมเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของบุคคลที่หาย
สาบสูญ ซึ่งชะตากรรมยังไม่เป็นประจักษ์ และสถานะของญาติของบุคคลดังกล่าวในด้านต่างๆ เช่น สวัสดิการสังคม
การเงิน กฎหมายครอบครัว และสิทธิในทรัพย์สิน ทั้งนี้ โดยไม่กระทบพันธกรณีในอันที่จะดำาเนินการสืบสวนต่อไป
จนกว่าจะทราบชะตากรรมของบุคคลที่หายสาบสูญโดยแน่ชัด
๗. .......................................
ข้อ ๒๕
๑. รัฐภาคีแต่ละรัฐจะต้องดำาเนินมาตรการที่จำาเป็นในการป้องกันและลงโทษภายใต้กฎหมายอาญา
ของตน
(ก) การขนย้ายเด็กผู้ซึ่งถูกใช้กำาลังบังคับให้หายสาบสูญ เด็กผู้ซึ่งบิดามารดาหรือผู้ปกครองตาม
กฎหมาย ถูกใช้กำาลังบังคับให้หายสาบสูญ หรือเด็กที่เกิดระหว่างการถูกคุมขังของมารดาที่ถูกใช้กำาลังบังคับให้หาย
สาบสูญ
(ข) .........................................
๔. เนื่องด้วยความจำาเป็นที่จะต้องปกป้องผลประโยชน์สูงสุดของเด็กที่ได้ระบุไว้ตามวรรค ๑ (ก) ของ
ข้อนี้ และสิทธิที่จะรักษาหรือมีลักษณะบ่งชี้ได้อีก อันหมายรวมถึงสัญชาติ ชื่อ ความสัมพันธ์กับครอบครัวตามที่
กฎหมายรับรอง รัฐภาคีที่ยอมรับระบบการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือการอุปการะได้ และหากเป็นการเหมาะสม
ให้ยกเลิกการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือการอุปการะเด็กซึ่งมีที่มาจากการใช้กำาลังบังคับเพื่อให้หายสาบสูญ
๕. ....................................
๖. ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุง
กฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้ศึกษาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคล
ให้สูญหาย พ.ศ. .... การรับฟังความเห็นจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การศึกษากฎหมายภายใน
ที่เกี่ยวกับการส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักร ตลอดจนหลักการและกฎหมาย พันธกรณีระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการต่อต้านการทรมานและการคุ้มครองบุคคลจากหายสาบสูญโดยถูกบังคับแล้ว
มีความเห็น ดังนี้
๖.๑ การกระทำาหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรีนั้น ร่างพระราช-
บัญญัติฯ มาตรา ๓ (๒) ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า หมายถึง การกระทำาลักษณะใดบ้าง และไม่มีบทกำาหนดโทษ
สำาหรับการกระทำาดังกล่าว อนุสัญญา CAT ไม่ได้กำาหนดอย่างชัดเจนว่าการกระทำาใดบ้างที่เข้าข่าย CID และ
ไม่ได้ระบุให้รัฐภาคีต้องกำาหนดให้การกระทำาดังกล่าวเป็นความผิดอาญา ทั้งนี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศเห็นว่า
การปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม (Inhuman Treatment) เป็นการกระทำาที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความ
ทุกข์ทรมานทางร่างกายหรือจิตใจอย่างร้ายแรง โดยได้บัญญัติไว้ในธรรมนูญกรุงโรม (ICC Statute) ข้อ ๘ (๒)
(b) (xxi) และ (c) (ii) ว่า การกระทำาที่ร้ายแรงหรือละเมิด (Outrages) ต่อศักดิ์ศรีของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง