Page 42 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 42
40 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ผู้เจ็บป่วยเนื่องจากประสบภัยจากรถให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยก่อน แล้วจึง
เบิกส่วนที่เบิกจ่ายไม่ได้จากระบบบริการสาธารณสุขที่ผู้นั้นมีสิทธิ ทั้งนี้ เห็นควรโอนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
มาอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข และทบทวนอัตราค่าเสียหายเบื้องต้นโดยให้ค่าเสียหาย
เบื้องต้นกรณีเจ็บป่วยสูงกว่ากรณีเสียชีวิต
๓.๒.๘ ผู้แทนของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
(๑) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้มีประกาศคณะกรรมการการแพทย์
ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยให้สถานพยาบาล หน่วยปฏิบัติการ และผู้ตรวจ
คัดแยกระดับความฉุกเฉินและจัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามลำาดับความเร่งด่วนทางการแพทย์
ฉุกเฉิน ทั้งนี้ ได้กำาหนดให้ใช้เกณฑ์การประเมินตามแนวทางการคัดแยกของ Emergency Severity Index (ESI)
Version 4 แบ่งระดับความฉุกเฉินเป็น ๕ ระดับ ได้แก่
(๑.๑) ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน
ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด
หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงหรือทำาให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น
รุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีแดง”
(๑.๒) ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ได้แก่ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะ
เฉียบพลันมาก หรือเจ็บปวดรุนแรงอันอาจจำาเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะทำาให้การ
บาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตหรือพิการ
ในระยะต่อมาได้ ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีเหลือง”
(๑.๓) ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมี
ภาวะเฉียบพลันไม่รุนแรง อาจรอรับปฏิบัติการแพทย์ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุข
ด้วยตนเองได้ แต่จำาเป็นต้องใช้ทรัพยากรและหากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้ว จะทำาให้การบาดเจ็บหรือ
อาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีเขียว”
(๑.๔) ผู้ป่วยทั่วไป ได้แก่ บุคคลที่เจ็บป่วยแต่ไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอาจรอรับหรือ
เลือกสรรบริการสาธารณสุขในเวลาทำาการปกติได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา
ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีขาว”
(๑.๕) ผู้รับบริการสาธารณสุขอื่น ได้แก่ บุคคลซึ่งมารับบริการสาธารณสุขหรือ
บริการอื่น โดยไม่จำาเป็นต้องใช้ทรัพยากร ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีดำา”
(๒) ปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เกิดจากเงื่อนไขการจ่ายเงินของ
สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งกำาหนดว่าเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ หากไม่เข้าข่ายเจ็บป่วย
ฉุกเฉิน โรงพยาบาลที่ให้การรักษาก็ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินคืนได้ โรงพยาบาลที่ให้การรักษาเป็นโรงพยาบาลที่ใกล้
ผู้เจ็บป่วยหรือไม่ อัตราการเบิกจ่ายเงินคืน ระยะเวลาพ้นวิกฤต สำาหรับเงื่อนไขการอยู่ในข่ายการเจ็บป่วย
ฉุกเฉินหรือไม่นั้น ในส่วนของแพทย์ไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากมีเกณฑ์แล้ว ส่วนผู้ป่วยอาจมีปัญหาบ้างเนื่องจาก
การแปลความเจ็บป่วยฉุกเฉินตามความรู้สึกส่วนตัว ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือ โดยมีสำานักงานหลักประกัน