Page 41 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 41
39
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
(๔) การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำาหรับผู้เจ็บป่วยที่เป็นผู้ประกันตนและมีประกันชีวิต
สำานักงานประกันสังคมไม่ได้กำาหนดตายตัวว่าให้เรียกเก็บจากบริษัทประกันชีวิตก่อนแล้ว จึงเบิกจ่ายจากกองทุน
ประกันสังคม หรือเบิกจ่ายจากกองทุนประกันสังคมก่อน เนื่องจากเห็นว่าทั้งการประกันตนภายใต้ระบบประกัน
สังคมและการประกันชีวิต ผู้ประกันตนและผู้ประกันชีวิตต้องจ่ายเงินเช่นกัน
๓.๒.๖ ผู้แทนของสำานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เห็นว่าภารกิจของ สคบ.
ไม่ครอบคลุมการกำากับดูแลงานให้บริการภายใต้ระบบบริการสาธารณสุข ๓ ระบบ และงานบริการทางการแพทย์
อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยว่าการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนมีต้นทุน การกำาหนดนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ จึงควร
คำานึงเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้กฎหมายหรือนโยบายเรื่องนี้ ควรมีความชัดเจนถึงความหมายของคำาว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน
วิกฤตหรือเร่งด่วน
๓.๒.๗ ผู้แทนของกระทรวงพาณิชย์
(๑) การกำากับควบคุมค่าใช้จ่ายในการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเป็นภารกิจ
กระทรวงสาธารณสุข ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์
รับผิดชอบ ส่วนการเสนอให้การรักษาพยาบาลเป็นรายการสินค้าควบคุมราคานั้น เห็นว่าน่าจะไม่บังเกิดผล
ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทุจริตได้
(๒) การเจ็บป่วยฉุกเฉินแบ่งเป็นการเจ็บป่วยเนื่องจากเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ และ
๒
เนื่องจากอุบัติเหตุ รวมถึงอุบัติเหตุจากรถยนต์ด้วย ประการหลังมีกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จากรถตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ความคุ้มครองด้วย กองทุนนี้อยู่ภายใต้การบริหาร
ของสำานักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย กรมการประกันภัย ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสำานักงานคณะกรรมการ
๓
กำากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แบ่งการคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นกรณี
บาดเจ็บ และกรณีเสียชีวิต โดยกรณีเสียชีวิตจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นในอัตราสูงกว่ากรณีบาดเจ็บ โดยหลัก
๒ พระร�ชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจ�กรถ พ.ศ. ๒๕๓๕
ม�ตร� ๓๔ ให้มีสำานักกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยขึ้นในกรมการประกันภัยเพื่อดำาเนินการเกี่ยวกับกองทุน
๓ พระร�ชบัญญัติคณะกรรมก�รกำ�กับและส่งเสริมก�รประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. ๒๕๕๐
ม�ตร� ๓ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติ
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐ และบรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำาสั่งที่ออกตามความใน
พระราชบัญญัติดังกล่าวให้คงใช้บังคับต่อไป ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์แห่งการนำาพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับและคำาสั่งตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับ ให้คำา
บางคำาในพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำาสั่งนั้น มีความหมาย ดังต่อไปนี้
(๑) ...
(๓) ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย
จากรถ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐
…
คำาว่า “กรมการประกันภัย” ในมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๔ ให้หมายความถึง “สำานักงานคณะกรรมการ
กำากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย”