Page 38 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 38

36   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               กรณีโรงพยาบาลของรัฐในเรื่องนี้  ซึ่งตามนโยบายนี้กำาหนดให้โรงพยาบาลที่ทำาการรักษาเก็บค่ารักษาพยาบาล

               จากสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยตรง ไม่ต้องเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วย

                                 (๒) นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ มีสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
               ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ผู้ป่วยบางรายไม่ได้เจ็บป่วยฉุกเฉินแต่ขอใช้สิทธินี้  จึงควรระบุในระเบียบให้รัดกุม โรง
               พยาบาลเอกชนหลายแห่งคิดค่ารักษาพยาบาลอัตราที่สูง การแก้ปัญหาเรื่องนี้จำาเป็นต้องแก้ทั้งระบบ โดยอาจขอ

               ความร่วมมือไปยังสำานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
               สาธารณสุขแต่ละครั้งมักมีผลทำาให้การปฏิบัติตามนโยบายต่างๆ รวมทั้งนโยบายนี้ไม่ต่อเนื่อง  ทั้งนี้ กระทรวง
               สาธารณสุขรับผิดชอบการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลต่างๆ แต่ไม่รวมถึง

               การควบคุมเพดานค่ารักษาพยาบาล

                           ๓.๒.๒  ผู้แทนของสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                                 (๑) นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ เป็นนโยบาย

               ที่ดี แต่ทางปฏิบัติพบว่า การประชาสัมพันธ์ยังไม่ครอบคลุม เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยหรือญาติจะถูก
               โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งให้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพค่ารักษาพยาบาลซึ่งมีราคาสูงหรือถูกฟ้อง เมื่อผู้ป่วย
               หรือญาติแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมักอ้างว่าไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

               ดังกล่าว เป็นต้น

                                 (๒) นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บังคับกับโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ได้
               เป็นคู่สัญญาของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีมากกว่า ๒๐๐ แห่ง โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชน
               สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้มากขึ้น ปัญหาทางปฏิบัติเกิดจากการออกแบบและการบริหารนโยบาย

               ซึ่งไม่อาจดำาเนินการให้บรรลุตามเจตนารมณ์แห่งนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ได้ เช่น ด้านบริหารนโยบาย
               เจ็บป่วยฉุกเฉินฯ พบว่า  รัฐบาลให้แนวทางว่า สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถเบิกจ่ายค่ารักษา

               พยาบาลได้ตามอัตราที่กำาหนด เมื่อมีค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงไม่อาจ
               จ่ายได้

                                 (๓) ปัญหาทางกฎหมาย คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
               มี ๒ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑
               ทั้งสองฉบับไม่มีข้อกำาหนดเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาล ที่ผ่านมา  โรงพยาบาลเอกชนจะอ้างว่าไม่ได้ปฏิเสธ

               การให้การรักษาพยาบาล  ส่วนการเก็บค่ารักษาพยาบาลแพง ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีนโยบายกำากับค่าบริการ
               ของโรงพยาบาลเอกชน  สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขทำาอยู่ คือ การกำาหนดอัตรา (Range) ค่ารักษาพยาบาลของ
               บางกลุ่มโรค เช่น กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เป็นต้น

                                 (๔) สำาหรับแนวทางการแก้ปัญหา คือ

                                     (๔.๑) มาตรการช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ ให้โรงพยาบาลเอกชนให้บริการรักษา
               กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินโดยไม่เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วย  แต่เรียกเก็บจากสำานักงานหลักประกันสุขภาพ

               แห่งชาติให้สำานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสนับสนุนมาตรการเยียวยา ให้กระทรวงการคลังศึกษากลไก
               ลดหย่อนภาษีแก่โรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมให้บริการตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ  ให้กระทรวงพาณิชย์กำาหนด
               ให้ค่าบริการฉุกเฉินวิกฤตเป็นสินค้าควบคุม  ให้สำานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดระบบติดตามการใช้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43