Page 43 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 43
41
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
้
สุขภาพแห่งชาติเป็นแกนกลางเกี่ยวกับอัตราฐานต่อหน่วยนำาหนักสัมพัทธ์ (AdjRW) ระยะพ้นวิกฤต
๓.๒.๙ ผู้แทนของโรงพยาบาลเอกชนที่ ๑
(๑) ในการพิจารณาแก้ปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ นี้ ได้มีการหารือ
ระหว่างโรงพยาบาลเอกชน สมาคมโรงพยาบาลเอกชน และสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหลายครั้ง
ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่มีการกำาหนดแนวปฏิบัติให้ ที่ผ่านมาประชาชนไม่ทราบว่าอาการเจ็บป่วยระดับใดอยู่ในขั้น
ฉุกเฉินวิกฤตหรือฉุกเฉินเร่งด่วน ส่วนใหญ่โรงพยาบาลทำาหน้าที่วินิจฉัยซึ่งบางครั้งไม่สอดคล้องกับความเห็นของ
สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทางปฏิบัติโรงพยาบาลทุกแห่งไม่ปฏิเสธการรักษาผู้ป่วย ไม่ว่ามีอาการ
เจ็บป่วยระดับใด ส่วนการคิดค่ารักษาพยาบาลจะต่างกันไปในแต่ละบริบทของโรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาล
ของรัฐ โรงพยาบาลเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับระบบบริการสาธารณสุขใดระบบหนึ่ง โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย
และโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นโรงพยาบาลทางเลือกและเรียกเก็บค่าบริการ (Fee - for - Service Hospital) ประการ
หลังจะไม่ได้เป็นคู่สัญญากับระบบบริการสาธารณสุขใด และมีต้นทุนสูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐ
(๒) กรณีที่ยกมา เมื่อมาถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ มีเส้นเลือด
โป่งพองพร้อมแตก หากเคลื่อนย้ายอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต โรงพยาบาลได้ประสานขอทีมแพทย์มาให้การรักษา
หลังจากพ้นภาวะวิกฤตได้พยายามประสานเพื่อย้ายโรงพยาบาล การดำาเนินการดังกล่าว มีค่าใช้จ่ายทุกขั้นตอน
คิดเป็นต้นทุน ๗๐๐,๐๐๐ บาท เบิกคืนจากสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ไม่ถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท
จึงเห็นว่าการออกกฎหมายในเรื่องนี้ควรคำานึงถึงบริบทที่ต่างกันของโรงพยาบาลด้วย
(๓) นอกจากนี้ มีบางกรณีที่โรงพยาบาลไม่อาจเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เช่น ผู้หญิงซึ่งเป็น
้
คนต่างด้าว ไม่มีสัญชาติไทย มีนายจ้างคนไทยพามาคลอดบุตร ปรากฏว่าเด็กคลอดก่อนกำาหนด มีนำาหนักน้อย
เด็กต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นเวลา ๔–๕ เดือน กรณีนี้ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกระทรวง
สาธารณสุขและสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ และโรงพยาบาลต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและประสาน
โรงพยาบาลของรัฐ (โรงพยาบาลเด็ก) เพื่อส่งต่อเด็ก
(๔) รัฐบาลควรเปลี่ยนแนวคิดการให้บริการภายใต้ระบบบริการสาธารณสุข จากปัจจุบัน
ที่รัฐบาลจ่ายเงินสนับสนุน โดยผู้ป่วยหรือบุคคลที่สามไม่ต้องร่วมจ่าย เป็นให้ผู้ป่วยหรือบุคคลที่สามมีส่วน
รับผิดชอบร่วมจ่ายด้วย (Co-pay Plan)
๓.๒.๑๐ ผู้แทนของโรงพยาบาลเอกชนที่ ๒
(๑) กรณีที่ยกมา ผู้ป่วยมารักษาตัว เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๖ โรงพยาบาลให้การรักษา
จนพ้นภาวะวิกฤต และได้ขอให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติช่วยประสานโรงพยาบาลคู่สัญญาเพื่อย้าย
ผู้ป่วย ซึ่งสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังประสานให้ไม่ได้ จนระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๕ เมษายน ๒๕๕๖
โรงพยาบาลได้ประสานโรงพยาบาลของรัฐ พบว่าเป็นช่วงวันหยุด กว่าจะย้ายผู้ป่วยได้ก็เป็นหลังวันหยุดแล้ว
ทั้งนี้ หากไม่ให้โรงพยาบาลเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยคงไม่ได้ เนื่องจากโรงพยาบาลไม่ได้รับเงิน
สนับสนุนจากรัฐบาล
(๒) ก่อนนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ มีผลบังคับใช้ ผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการไม่ว่าเจ็บป่วย
ฉุกเฉินหรือไม่ สามารถนำาใบเสร็จไปเบิกจากต้นสังกัดได้ตามอัตราที่กรมบัญชีกลางกำาหนดอยู่แล้ว เมื่อมี
้
นโยบายนี้ เห็นว่าควรทบทวนอัตราฐานต่อหน่วยนำาหนักสัมพัทธ์ (AdjRW) ด้วย หากจะใช้นโยบาย