Page 44 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 44

42   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               เจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ต่อไป  รัฐบาลควรสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนให้แก่โรงพยาบาลที่เข้าร่วมเกี่ยวกับสิทธิหรือ

               ผลประโยชน์ที่โรงพยาบาลจะได้รับ หน้าที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลที่สามารถเบิกคืนได้
               ระยะเวลาพ้นวิกฤต เช่น ๗๒ ชั่วโมง เป็นต้น



                     ๓.๓  มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการให้บริการ
                           รักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินสำาหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ และ

                           พนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                           (๑) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายสิทธิรับบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินของพนักงานรัฐวิสาหกิจ

               และข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น ตามนโยบายการบูรณาการระบบประกันสุขภาพของรัฐบาล ตามที่รัฐมนตรี
               ว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ  โดยให้มีผลตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖
               เป็นต้นไป ดังมีรายละเอียด ดังนี้

                              (๑.๑) กรณีขยายสิทธิรับบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินของพนักงานรัฐวิสาหกิจ

                                   (๑.๑.๑)  เห็นชอบให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ปรับปรุงหรือแก้ไข
                                                                             ่
               เพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นตำาของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ
               โดยอาศัยอำานาจตามความในมาตรา ๑๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่ง
                                                                  ่
               ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับมาตรฐานขั้นตำาของสภาพการจ้างสำาหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ
               ให้รองรับการขยายสิทธิรับบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้สามารถรับบริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน

               ที่ใดก็ได้  รวมทั้งสถานพยาบาลเอกชนนอกระบบของตน โดยไม่ต้องสำารองค่าใช้จ่ายล่วงหน้าตามนโยบายรัฐบาล
               เช่นเดียวกับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

                                   (๑.๑.๒)  เห็นชอบให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับพนักงาน
               ตามนโยบายรัฐบาล ใช้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางในการจัดการธุรกรรมการ
               เบิกจ่ายค่ารักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินและระบบข้อมูลต่างๆ (Clearing House) ตามนโยบายรัฐบาล  โดยสำานักงาน

               หลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำารองจ่ายเงินค่าบริการให้สถานพยาบาลไปก่อน  และให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเร่ง
               แก้ไขหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้รองรับการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินคืน

               ให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ตามอัตราที่ตกลงกัน ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง รวมทั้งจัดส่ง
               ฐานข้อมูลของบุคคลในสังกัดที่ได้สิทธิรักษาพยาบาลจากรัฐวิสาหกิจให้แก่สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
               เพื่อจัดทำาฐานข้อมูลผู้มีสิทธิและให้มีการปรับปรุงต่อเนื่อง

                              (๑.๒) กรณีขยายสิทธิรับบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

                                   (๑.๒.๑)  เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวง
               มหาดไทยว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๑  ซึ่งรัฐมนตรี

               ว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำานาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหาร
               ส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๓๒ แห่ง
               พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๔๙๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ

               เมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๕ และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำาบลและองค์การบริหาร
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49