Page 39 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 39
37
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
สิทธิของประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน
(๔.๒) ระบบการจัดการ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบนโยบายและจัดระบบ
บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติดำาเนินการแก่โรงพยาบาลที่ปฏิเสธการให้บริการ
ด้วยเหตุแห่งความสามารถในการจ่ายเงิน แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารระบบการแพทย์ฉุกเฉินทำาหน้าที่พัฒนา
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ให้กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง
สำานักงานประกันสังคม และสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นแกนกลางทำาแผนยุทธศาสตร์และ
แผนงบประมาณเพื่อพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาล
(๔.๓) กองทุน ให้กรมบัญชีกลาง สำานักงานประกันสังคม สำานักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติรับผิดชอบเบิกจ่ายโดยสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นแกนกลาง และให้สำานักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติแยกเงินค่าใช้จ่ายกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นหนึ่งหมวด
๓.๒.๓ ผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบ
(๑) ภรรยาประสบอุบัติเหตุรถยนต์เฉี่ยวชน ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
ซึ่งแจ้งว่าต้องผ่าตัดด่วน ญาติแจ้งขอใช้สิทธิรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินแต่ถูกโรงพยาบาลปฏิเสธ
เมื่อญาติขอย้ายผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน เห็นว่าควรระงับ
การใช้นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ นี้ไว้ก่อน เพราะหากใช้ต่อไปน่าจะมีผู้เสียหายจากการรับภาระค่ารักษาพยาบาล
ที่มีราคาสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจากการสัมภาษณ์ของเลขาธิการสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งมี
ประเด็นว่า สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยินดีให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหรือญาติรายใหม่ ไม่รวม
รายเดิมอาจทำาให้การช่วยเหลือไม่ครอบคลุมได้
(๒) ขณะนี้มีผู้เสียหาย ญาติของผู้ป่วยบางรายถูกฟ้องคดีในศาล จึงประสงค์ให้สำานักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเข้ามาในฐานะเป็นคู่ความด้วย เนื่องจากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เป็นนโยบาย
ที่รัฐบาลมอบหมายให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำาเนินการ
(๓) ผู้ป่วยมีอาการช็อค หมดสติ จึงพาส่งโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้สุดและ
ไม่สามารถส่งโรงพยาบาลของรัฐได้ทันเนื่องจากสภาพจราจรซึ่งหนาแน่น ต่อมาวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๖ ได้ขอย้าย
ผู้ป่วยไปโรงพยาบาลของรัฐ แต่โรงพยาบาลเอกชนขอให้ชำาระค่ารักษาพยาบาลก่อน และกว่าจะย้ายไปโรงพยาบาล
ของรัฐได้ก็เป็นวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๖ ขณะนี้ได้รับหมายศาลฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาล
(๔) อีกกรณี ผู้ป่วยเดินทางมากรุงเทพฯ แล้วมีอาการเป็นลมล้มลง ลิ้นจุกปาก ถูกนำาส่ง
โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลได้ผ่าตัดทำาบัลลูนหัวใจและแจ้งว่าผู้ป่วยยังไม่พ้นขีดอันตรายไม่อาจย้าย
โรงพยาบาลได้ ต่อมาขอย้ายโรงพยาบาลได้ โรงพยาบาลเอกชนขอให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลอย่างน้อย ๗๕% ซึ่งได้
จ่ายไปจำานวนหนึ่ง ส่วนที่เหลือได้ลงลายมือชื่อรับสภาพหนี้ไว้
๓.๒.๔ ผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง
(๑) หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค ๐๔๒๒.๒/ว ๙๕ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๗ เรื่อง
หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในสถานพยาบาลของเอกชน อนุวัติตาม
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มี
แนวทางปฏิบัติในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งกำาหนดอัตราฐานค่ารักษาพยาบาลประเภท