Page 46 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 46
44 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ที่ทุกคนพึงได้รับโดยไม่เสียค่าบริการและสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ โดยให้ผู้รับบริการใช้สิทธิจากระบบบริการอื่นที่ตนเองมีสิทธิก่อน หากสิทธินั้น
ด้อยกว่าหรือไม่ครอบคลุมเท่าสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้รับสิทธิเท่ากับระบบหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ โดยให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนต่างโดยคำานึงถึงประโยชน์
สูงสุดของผู้มีสิทธิ ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ และสำานักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีหนังสือ ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ แจ้งว่า สำาหรับข้อเสนอแนะนโยบายฯ
ประการหลังสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะรับไว้ศึกษาถึงประโยชน์ ความจำาเป็น ผลกระทบ ปัญหาของ
มาตราดังกล่าวเพื่อไปใช้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่อไป
๔. รัฐธรรมนูญ พันธกรณีระหว่างประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๔.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
ม�ตร� ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และ
ความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว
ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
ทั้งนี้ สิทธิด้านการได้รับบริการสาธารณสุขที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณี
การปกครองประเทศไทยทั้งสิ้น ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๑
วรรค ๑ “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้
มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”
๔.๒ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ข้อ ๑๒
๑. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุด
เท่าที่เป็นได้
๒. ขั้นตอนในการดำาเนินการโดยรัฐภาคีแห่งกติกานี้ เพื่อบรรลุผลในการทำาให้สิทธินี้เป็นจริงอย่าง
สมบูรณ์จะต้องรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่จำาเป็นเพื่อ
(ก) ...
(ข) ...
(ค) ...
(ง) การสร้างสภาวะที่ประกันบริการทางแพทย์ และการให้การดูแลรักษาพยาบาลแก่ทุกคน
ในกรณีเจ็บป่วย
๔.๓ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
ม�ตร� ๓๖ ผู้้รับอนุญาตและผู้ดำาเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้้มีการช่วยเหลือ