Page 40 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 40

38   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                                                                                    ้
               ผู้ป่วยในที่สถานพยาบาลเบิกจ่ายได้เท่ากับอัตราฐาน ๑๐,๕๐๐ บาท ต่อหนึ่งหน่วยนำาหนักสัมพัทธ์ (AdjRW)
               ขณะนี้อยู่ระหว่างทบทวนอัตราฐานดังกล่าว ซึ่งสมาคมโรงพยาบาลเอกชนเสนอให้เพิ่มเป็น ๒๐,๐๐๐ บาทต่อ
                         ้
               หนึ่งหน่วยนำาหนักสัมพัทธ์ (AdjRW)
                              อย่างไรก็ตาม การปรับอัตราฐานควรทำาแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากกระทบต่องบประมาณ
               จำานวนมาก  ปัจจุบันกรมฯ ต้องรับผิดชอบเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ซึ่งมีประมาณ

               ๕ ล้านคน และครอบครัวอีกจำานวนหนึ่ง  แต่ละปี กรมฯ ขอรับจัดสรรงบประมาณประมาณ ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท
               ต่อปี  ที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายเกินกว่าที่ได้รับจัดสรร  สำาหรับปีงบประมาณนี้ (๒๕๕๘) จนถึงปัจจุบัน (๗ ตุลาคม
               ๒๕๕๘) ได้มีการเบิกจ่ายแก่ผู้เจ็บป่วยซึ่งใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินไปแล้ว ๒๐๐ ล้านบาท

                                 (๒) การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำาหรับผู้เจ็บป่วยที่เป็นข้าราชการและมีประกันชีวิต
               ให้เรียกเก็บจากบริษัทประกันชีวิตก่อน แล้วเบิกจ่ายส่วนที่เหลือจากระบบสวัสดิการข้าราชการ ไม่เกินที่จ่ายจริง
               โดยกรมบัญชีกลางได้ทำาข้อตกลงกับโรงพยาบาลเอกชน ๓๐ กว่าแห่ง เพื่อให้การรักษาตามรายการโรคที่กำาหนด

                           ๓.๒.๕  ผู้แทนของสำานักงานประกันสังคม

                                 (๑) กองทุนประกันสังคมมาจากเงินที่นายจ้างและลูกจ้างสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน
               โดยคำานวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับและรัฐบาลสมทบส่วนหนึ่ง ที่ผ่านมา ก่อนรัฐบาลประกาศใช้นโยบาย
               เจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลที่ตนเลือก

               (โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ) ซึ่งมีชื่อและอยู่ในเขตท้องที่ (ทำางาน/ภูมิลำาเนา) ตามประกาศในราชกิจจา-
               นุเบกษา  กรณีที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลอื่นก็สามารถได้รับเงินทดแทนตามอัตราที่สำานักงานประกันสังคม

               กำาหนด  ปัจจุบันสมาชิกกองทุนประกันสังคมมีประมาณ ๑๐ ล้านคน ที่ผ่านมามีผู้ใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉิน
               ประมาณ ๑,๒๐๐ คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาทต่อคน ต่อปี  ทั้งนี้ เนื่องจากภายใต้ระบบประกัน
               สังคมมีโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นคู่สัญญาจำานวนหนึ่ง

                                 (๒) ในการเข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ สำานักงาน
               ประกันสังคมได้ออกประกาศคณะกรรมการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และจำานวน

               เงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ กำาหนด
               หลักเกณฑ์และเงื่อนไขว่า กรณีผู้ประกันตนไม่อาจเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ
               เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้รับการรักษาในโรงพยาบาลใกล้ที่สุด และแจ้งโรงพยาบาล

               ตามบัตรรับรองสิทธิโดยเร็ว  โดยสำานักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
               ตามความจำาเป็นไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมงนับแต่เข้ารับบริการทางการแพทย์  ประกาศดังกล่าวได้กำาหนดประเภทและ
               อัตราค่ารักษาพยาบาลที่ผู้ประกันตนสามารถเบิกคืนกรณีสำารองจ่ายไปก่อนด้วย

                                 (๓) สำาหรับปัญหาในการนำานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ไปปฏิบัติเกิดจากความไม่ชัดเจน
               ของคำาจำากัดความของคำาว่า เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตและเจ็บป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน  แนวทางไต่สวนอาการเจ็บป่วย
               เบื้องต้นเพื่อประเมินค่ารักษาพยาบาล (Pre - authorization)  ภาวะพ้นวิกฤตและผู้วินิจฉัยภาวะพ้นวิกฤต

               นอกจากนี้ โรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง รวมถึงที่ไม่ใช่คู่สัญญากับระบบบริการสาธารณสุขใด เห็นว่าอัตรา
               ค่ารักษาพยาบาลที่สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำาหนดไม่สะท้อนต้นทุนค่ารักษาพยาบาลตามที่
                                                       ้
               เกิดขึ้นจริง  จากการศึกษาวิจัยพบว่า หนึ่งหน่วยนำาหนักสัมพัทธ์ (AdjRW) ควรเท่ากับอัตราฐาน ๑๗,๐๐๐ บาท
               ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45