Page 37 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 37

35
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  ฉุกเฉินเร่งด่วน) และสีแดง (ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต)  และการนิยามคำาว่า “พ้นวิกฤต” มิได้กำาหนดไว้ให้ชัดเจน เปิดช่อง

                  ทางให้โรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้วินิจฉัย  ทำาให้เกิดปัญหา เช่น โรงพยาบาลเอกชนที่ให้การรักษาไม่ได้ส่งต่อผู้ป่วย
                  เมื่อพ้นวิกฤตไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลต้นสังกัดตามสิทธิโดยเร็ว ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลหลังพ้น

                  วิกฤตเอง เป็นต้น
                             ๓.๑.๒  ปัญหาประชาชนและโรงพยาบาลที่ไม่ใช่คู่สัญญาไม่ทราบถึงระบบการแจ้งสิทธิและ

                  ระบบอนุมัติให้เข้ารับบริการรักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน  ประชาชนไม่ทราบช่องทางร้องเรียนและ
                  สิทธิประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว รวมถึงไม่ทราบข้อมูลโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาและไม่ได้เป็นคู่สัญญา

                             ๓.๑.๓  ปัญหาต้นทุนการรักษาพยาบาลซึ่งไม่สามารถหาต้นทุนที่เหมาะสมได้ โดยโรงพยาบาล
                  เอกชนจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันตามประเภทกลุ่มของโรงพยาบาล ปัจจุบันรัฐกำาหนดไว้ที่อัตรา ๑๐,๕๐๐ บาท
                              ้
                  ต่อหนึ่งหน่วยนำาหนักสัมพัทธ์  (Adjusted  Relative  Weight  :  AdjRW)  สมาคมโรงพยาบาลเอกชนเสนอให้เพิ่ม
                                              ้
                  เป็น ๒๕,๐๐๐ บาทต่อหนึ่งหน่วยนำาหนักสัมพัทธ์ (AdjRW)  สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนออัตรา
                                          ้
                  ๑๖,๗๖๒ บาทต่อหนึ่งหน่วยนำาหนักสัมพัทธ์ (AdjRW)  สำานักงานประกันสังคม เสนออัตรา ๑๗,๐๐๐ บาทต่อ
                            ้
                  หนึ่งหน่วยนำาหนักสัมพัทธ์ (AdjRW)  ส่วนหนึ่งเนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนอ้างว่า ไม่เชื่อมั่นว่าเมื่อส่งข้อมูล
                  การเบิกชดเชยแล้วจะได้รับเงินตามจำานวนนั้น ทำาให้โรงพยาบาลเอกชนมีแนวโน้มปฏิเสธการใช้วิธีเบิกจ่าย

                  ค่ารักษาพยาบาลตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยโดยตรง  และพบว่าหลังเริ่มดำาเนินการ
                  ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕  มีผู้ใช้บริการและเบิกผ่านระบบเบิกจ่ายบริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน (EMCO) ร้อยละ ๔๖

                  ของผู้ใช้บริการทั้งหมดรายงานว่าถูกเรียกเก็บเงินในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ เพิ่มเป็นร้อยละ ๗๐ และช่วงเดือน
                  กันยายนเพิ่มเป็นร้อยละ ๙๕

                             ๓.๑.๔  ปัญหาการประเมินระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน
                  วิกฤตหรือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน  พบว่าไม่ใช้แพทย์มาทำาการวินิจฉัย

                  อาการทั้ง ๒๕ อาการว่าเป็นฉุกเฉินวิกฤตหรือไม่
                             ๓.๑.๕  ปัญหาการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากงบประมาณ  ซึ่งนโยบายดังกล่าวไม่ได้มี

                  การตั้งงบประมาณเพิ่มเติมจากงบประมาณปกติ กล่าวคือ เป็นการใช้งบปกติของแต่ละกองทุน  ปัจจุบันเป็น
                  การใช้งบประมาณของสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการสำารองจ่าย โดยจะไปเรียกเก็บเงินคืนจาก

                  กองทุนที่เหลือซึ่งยังไม่มีกองทุนใดจ่ายเงินเข้ามา

                        ๓.๒  การรับฟังความเห็นจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้ได้รับผลกระทบ

                             คณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังข้อมูลและความเห็นเรื่องนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ดังกล่าวจาก
                  หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๗ และวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗

                  ตามลำาดับ มีสาระสำาคัญโดยสรุป คือ

                             ๓.๒.๑  ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข

                                    (๑) ข้อมูลจากการรับเรื่องร้องเรียนของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า เรื่องร้องเรียน
                  เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการเก็บค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน  ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนต่อ

                  กรณีโรงพยาบาลเอกชนว่าเก็บค่ารักษาพยาบาลและผลักภาระให้ผู้ป่วยหรือญาติ  ไม่ค่อยมีการร้องเรียนต่อ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42