Page 36 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 36
34 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ที่เหลือต้องเซ็นสัญญารับสภาพหนี้ และกรณีสุดท้ายผู้เสียหายมีครรภ์ มีอาการเจ็บท้องรุนแรงไปรักษาที่
โรงพยาบาลอกชนซึ่งตนมีสิทธิตามระบบประกันสังคม แต่ถูกปฏิเสธ ผู้เสียหายได้คลอดบุตรที่บ้านและปรากฏว่า
บุตรเสียชีวิตในเวลาต่อมา
๒. อำานาจหน้าที่
อาศัยอำานาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ บัญญัติว่า
“ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค
บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครอง
ตามรัฐธรรมนูญนี้” และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓)
บัญญัติว่า “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุง
กฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” ดังนั้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมอบให้คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุง
กฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนพิจารณาปัญหาดังกล่าวเพื่อมีข้อเสนอแนะนโยบายและ
ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
๓. ข้อมูลประกอบการพิจารณา
๓.๑ สภาพปัญหาเนื่องจากนโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน
สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำาหนดแนวทางการเข้ารับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
(Emergency Claim Online : EMCO) โดยให้แนวทางการวินิจฉัย ประกอบด้วยมีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรคหรืออาการ
ของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือต่อผู้อื่น มีลักษณะรุนแรงต้องรักษาเร่งด่วนและโรคที่ต้อง
ผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต และให้แนวทางใช้สิทธิว่าให้เข้ารับการรักษาจากหน่วยบริการของ
รัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งกำาหนดแนวทางการใช้สิทธิกรณีประสบอุบัติเหตุทั่วไป ซึ่งให้เข้ารับบริการ
จากหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และกรณีประสบภัยจากรถให้เข้ารับบริการจากหน่วย
บริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหรือไม่เข้าร่วมโครงการก็ได้ รวมทั้งได้กำาหนดแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย
๑
ไปยังโรงพยาบาลที่ผู้นั้นมีสิทธิ
อย่างไรก็ตาม พบว่าทางปฏิบัติการใช้นโยบายดังกล่าวมีปัญหา คือ
๓.๑.๑ ปัญหาคำานิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” ซึ่งมีความเข้าใจและการตีความอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน
แตกต่างกันในมุมมองของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้ ระดับของอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน แบ่งได้
๓ ระดับตามความเร่งด่วนหรือวิกฤต โดยสามารถแทนด้วยสี ดังนี้ สีเขียว (ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่เร่งด่วน) สีเหลือง (ผู้ป่วย
๑ สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ <http://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-forpeople_useuc.aspx>, เข้าค้นเมื่อวันที่ ๒๐
มกราคม ๒๕๕๘