Page 35 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 35
33
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
รายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบาย หรือ
ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย ที่ ๖๙/๒๕๕๘ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม กสม. ในคราวประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๕๘
วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑. ความเป็นมา
ผู้ร้องได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คำาร้องที่
๔๔๖/๒๕๕๗ ว่า เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ รัฐบาลร่วมกับสำานักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประกาศนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน เข้าโรงพยาบาลใดก็ได้
โดยไม่ต้องถามสิทธิ ไม่ต้องสำารองจ่าย โดยสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
จะเป็นผู้จ่ายให้ทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติมีผู้ป่วยและญาติจำานวนมากต้องสำารอง
จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และไม่สามารถเบิกรักษาค่ารักษาพยาบาลได้
เต็มจำานวนกับที่จ่ายไป ตัวอย่างเช่น ภรรยาของผู้เสียหายประสบอุบัติเหตุ
ทางถนน มีอาการเลือดคั่งในสมองต้องรับการผ่าตัด ๒ ครั้ง โรงพยาบาลเอกชนที่ให้
การรักษาคิดค่าใช้จ่าย ๔๕๙,๙๐๕ บาท สามารถเบิกจากสำานักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติเพียง ๗๖,๘๓๕.๖๐ บาท และมีคดีฟ้องร้องต่อศาลปกครองเป็น
คดีดำาที่ ๗๒๖/๒๕๕๗ ฟ้องกระทรวงสาธารณสุขที่ ๑ กับพวกรวม ๓ คน คดีพิพาท
เกี่ยวกับการกระทำาละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
อันเกิดจากการใช้อำานาจตามกฎหมาย (ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนเงินค่ารักษาพยาบาล
ที่ได้สำารองจ่าย) อีกกรณีผู้เสียหายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนด้วยอาการ
ช็อคหมดสติ เมื่อพ้นระยะวิกฤตแล้ว ไม่สามารถขอย้ายไปรักษายังโรงพยาบาล
ที่ตนมีสิทธิได้ เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนที่ให้การรักษาขอให้จ่ายค่ารักษาพยาบาล
จำานวน ๔๘๐,๐๐๐ บาท ขณะนี้ถูกฟ้องศาล อีกกรณีมารดาของผู้เสียหายเข้ารับ
การรักษาในโรงพยาบาลเอกชนด้วยอาการเป็นลมลิ้นจุกปาก ต้องผ่าตัดทำาบอลลูน
หัวใจ โรงพยาบาลคิดค่าใช้จ่าย ๗๘๐,๐๐๐ บาท ผู้เสียหายชำาระไป ๒๐,๐๐๐ บาท