Page 33 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 33
31
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๕.๒.๔ ประเด็นที่ ๔ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีหน้าที่อำานวยความสะดวกและ
จัดสถานที่ในการชุมนุมสาธารณะ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ได้เปิดมิติการกระจาย
อำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอันที่จะจัดการบริการสาธารณะ
การจัดพื้นที่ที่เหมาะสมให้เป็นพื้นที่สำาหรับการชุมนุมสาธารณะ อาจช่วยให้ประชาชน
ที่ประสงค์จะรวมตัวกันเพื่อแสดงออกให้รัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลกลางทราบเกี่ยวกับความประสงค์ที่ต้องการ
สนับสนุน เรียกร้อง หรือคัดค้านกฎหมาย นโยบาย การกระทำา การดำาเนินในโครงการหรือกิจกรรม หรือท่าที
อย่างหนึ่งอย่างใด และช่วยดูแลอำานวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุมได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน หากผู้ชุมนุมสามารถ
สื่อสารความประสงค์จากพื้นที่ได้เช่นเดียวกับการชุมนุมในเมือง ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับ
การชุมนุมได้ เช่น การใช้เส้นทางจราจร เป็นต้น
คว�มเห็นและข้อเสนอ
เห็นควรกำาหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการจัดการเกี่ยวกับ
สถานที่ที่ใช้ในการชุมนุม เป็นการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมและเปิดโอกาสให้กลุ่มประชาชน
กลุ่มต่างๆ จัดการชุมนุมได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่อำานวยความสะดวก
ดูแลรักษาความปลอดภัย และจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมให้ประชาชนร่วมชุมนุมสาธารณะ เช่น สามารถเดินทาง
มายังสถานที่ดังกล่าวได้โดยสะดวก และอำานวยความสะดวกในการบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ห้องสุขา
เป็นต้น
ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรา
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ ขึ้น โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำาหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควร
กำาหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิชุมนุมสาธารณะให้ชัดเจนและโดยสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี ทั้งนี้ เพื่อให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบ
เรียบร้อยไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
อันดีตลอดจนสุขอนามัยของประชาชน หรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ และไม่กระทบ
กระเทือนสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ซึ่งจากการพิจารณาพบว่ามีหลายประเด็นที่
เป็นไปตามข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายที่คณะกรรมการฯ เสนอ เช่น การกำาหนด
พื้นที่ห้ามชุมนุมโดยบัญญัติแยกรัฐสภา ทำาเนียบรัฐบาล และศาล ออกจากสถานที่ประทับ ไม่ได้กำาหนดให้ผู้จัดการ
ชุมนุมต้องอยู่ด้วยตลอดระยะเวลาการชุมนุม การแจ้งการชุมนุมสามารถแจ้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ขยาย
เวลาการปราศรัยจาก ๒๒.๐๐ น. เป็น ๒๔.๐๐ น. และเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องผ่านการฝึกอบรม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีหลายประเด็นที่บทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่สอดคล้องกับ
ข้อเสนอแนะฯ ของคณะกรรมการฯ หรือไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง หรือไม่สอดคล้องเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัตินี้เอง เช่น กรณีไม่แจ้งการชุมนุม เจ้าพนักงาน
ออกคำาสั่งให้เลิกการชุมนุมได้ การให้ดุลพินิจแก่รัฐมนตรีในประกาศสถานที่ห้ามการชุมนุมฯ กีดขวางทางเข้าออก
หรือรบกวนการปฏิบัติงานเพิ่มเติม เจ้าพนักงานมีอำานาจจับ ค้น ยึด อายัด รื้อถอนทรัพย์สิน โดยไม่ต้องผ่าน