Page 32 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 32
30 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เคยเสนอ
ความเห็นดังกล่าวในรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
(เลขที่ ๒๑๐/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔) เรื่อง การตราพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....
๕.๒.๒ ประเด็นที่ ๒ การใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงเพื่อป้องปราม ระงับ
และสลายการชุมนุม
ที่ผ่านมารัฐได้นำากฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงมาใช้กับการชุมนุมสาธารณะหลายครั้ง
ซึ่งโดยหลักการกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงไม่สามารถนำามาใช้กับการชุมนุมสาธารณะได้ เนื่องจากการชุมนุม
เป็นสิทธิและเสรีภาพตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อมีการชุมนุมขึ้นต้องนำากฎหมาย
การชุมนุมสาธารณะมาใช้บังคับก่อน เว้นแต่การชุมนุมโดยสงบแปรเปลี่ยนไปสู่สถานการณ์วิกฤติ หรือการจลาจล
ที่จะกระทบต่อความมั่นคง หรือก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยอย่างร้ายแรง จึงอาจนำากฎหมายพิเศษด้าน
ความมั่นคงมาบังคับใช้เท่าที่จำาเป็น เพื่อให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกกระทบน้อยที่สุด และไม่สมควรนำา
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มาใช้กับการชุมนุมไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น
คว�มเห็นและข้อเสนอ
รัฐบาลไม่ควรบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงควบคู่กับพระราชบัญญัติการชุมนุม
สาธารณะฯ เมื่อมีการชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นควรใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ก่อน ต่อเมื่อสถานการณ์
แปรเปลี่ยนเป็นจลาจลและกระทบต่อความมั่นคงของประเทศจึงค่อยใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง โดย
ต้องประกาศใช้กฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนน้อยที่สุดก่อน และไม่สมควรนำา
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มาใช้กับการชุมนุมไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น
๕.๒.๓ ประเด็นที่ ๓ การแปลความบทบัญญัติ
ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำาวินิจฉัย ที่ ๑๑/๒๕๔๙ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ตามที่
ประธานรัฐสภาขอว่า ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา ๒๐ ที่บัญญัติให้เพิ่ม
ความต่อไปนี้ เป็นมาตรา ๔๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยวรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามมิให้
ผู้ใดชุมนุมกันในเขตทางหลวงในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร หรืออาจเป็นอันตรายหรือเสียหายแก่
ยานพาหนะหรือผู้ใช้ทางหลวง เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำานวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย
จากผู้อำานวยการทางหลวง หรือเป็นการเดินแถว ขบวนแห่ หรือชุมนุมกันตามประเพณีหรือวัฒนธรรม หรือ
เป็นกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรืออยู่ในเขตที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามที่รัฐมนตรีประกาศ
กำาหนด และวรรคสอง บัญญัติว่า การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำาหนด
ในกฎกระทรวง เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๙
และ ๔๔ เนื่องจากเป็นการจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเกินความจำาเป็น
คว�มเห็นและข้อเสนอ
ในการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่มีอำานาจหน้าที่ไม่ควร
แปลความ จนทำาให้การชุมนุมสาธารณะไม่อาจทำาได้จริง ไม่เช่นนั้นจะเป็นการขัดต่อหลักการของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย ตามแนวคำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้น