Page 31 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 31

29
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  ในการดำาเนินงานของรัฐ จึงไม่ควรบัญญัติยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกับ

                  ข้อกำาหนด ระเบียบ คำาสั่ง ข้อบังคับ ประกาศ หรือการกระทำาตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ

                             ๕.๑.๙  ประเด็นที่ ๙ บทกำาหนดโทษ

                                    ร่างพระราชบัญญัตินี้กำาหนดเงื่อนไขของการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยกำาหนดว่า

                  ต้องได้รับอนุญาต หรือต้องแจ้งอย่างเป็นทางการ อันเป็นเงื่อนไขที่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม ดังนั้น
                  บทลงโทษในหมวดนี้จึงขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และหลักการ
                  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งร่างมาตรา ๓๐ - ๓๘ บทบัญญัติในหมวดนี้กำาหนดทั้งโทษจำาคุกและ

                  โทษปรับไว้ในหลายกรณี เช่น กรณีผู้จัดการชุมนุมไม่ได้แจ้งการชุมนุม หรือกรณีผู้จัด เชิญชวนหรือนัดหมายให้
                  ผู้อื่นเข้าร่วมการชุมนุม สนับสนุน หรือช่วยเหลือด้วยประการใดๆ ในการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
                  หรือกรณีผู้ใดโฆษณา หรือประกาศให้ผู้ชุมนุมใช้กำาลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินผู้อื่น เป็นต้น

                  นอกจากบทกำาหนดโทษจะกำาหนดโทษจำาคุกและโทษปรับแล้ว ยังกำาหนดให้มีการริบทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้
                  ในการชุมนุมสาธารณะที่ยึดได้จากการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย

                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                    เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่สำาคัญซึ่งได้รับการรับรอง

                  และคุ้มครองตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตลอดมา  ซึ่งความผิดที่จะเกิดขึ้นตาม
                  ร่างพระราชบัญญัตินี้มีลักษณะเป็นความผิดทางปกครอง อันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำาสั่ง
                  ทางปกครองควรใช้โทษทางปกครอง (ปรับทางปกครอง) ไม่ใช่โทษอาญา (จำาคุก)  ส่วนการกระทำาผิดที่เข้าข่าย

                  ความผิดอาญา ก็สามารถดำาเนินคดีอาญาไปตามกฎหมายนั้นๆ ได้อยู่แล้ว  ดังนั้น ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
                  จึงไม่จำาเป็นต้องเขียนบทกำาหนดโทษไว้


                        ๕.๒  ข้อเสนอแนะนโยบาย

                             ๕.๒.๑  ประเด็นที่ ๑ กลไกรองรับการชุมนุม

                                    ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการชุมนุมสาธารณะที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชุมนุม
                                                                       ่
                  เนื่องจากความเดือดร้อนจากปัญหาปากท้อง หรือราคาพืชผลตกตำา ซึ่งมีการชุมนุมยืดเยื้อยาวนาน เนื่องจาก
                  ไม่มีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้าไปพิจารณาและช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งหากร่างพระราชบัญญัตินี้กำาหนดให้มี
                  บทบัญญัติเกี่ยวกับกลไกการรับเรื่องที่มีการชุมนุมดังกล่าว ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ก็น่าจะช่วยให้

                  ความทุกข์ร้อนของประชาชนได้รับการแก้ไขได้ทันท่วงทีมากขึ้น และช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ

                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                    รัฐควรกำาหนดกลไกรองรับการชุมนุมสาธารณะหรือเดินขบวนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มี

                  การปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการเฉพาะเจาะจง เมื่อเจ้าหน้าที่
                  ผู้มีอำานาจได้รับแจ้งการชุมนุมสาธารณะแล้ว เช่น ให้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้งคณะทำางานประสานงาน
                  รับเรื่องและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน  อย่างน้อยต้องประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือบุคคลที่

                  นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานคณะทำางาน หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ
                  ผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ ผู้แทนสำานักงานตำารวจแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เป็นต้น เพื่อร่วมกัน
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36