Page 28 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 28
26 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๕.๑.๕ ประเด็นที่ ๕ หมวด ๒ การแจ้งการชุมนุมสาธารณะ
ร่างมาตรา ๑๑ - ๑๖ กำาหนดให้ผู้ชุมนุมจะต้องมีหนังสือแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่ม
การชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง กรณีที่แจ้งไม่ทันก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง ต้องมีหนังสือแจ้ง
การชุมนุมพร้อมคำาขอผ่อนผัน หากผู้รับคำาขอมีคำาสั่งไม่ผ่อนผันให้เป็นที่สุด และหนังสือแจ้งต้องมีรายละเอียด
เกี่ยวกับการชุมนุมซึ่งจะเป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำาหนด รวมทั้งให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ในหลายประการ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับแจ้งอาจมีคำาสั่งให้แก้ไข หรือห้ามการชุมนุม และในระหว่างมีคำาสั่ง
ห้ามชุมนุม การอุทธรณ์และพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้งดการชุมนุมสาธารณะได้ รวมทั้งกำาหนดกรณีที่ให้ถือว่า
เป็นการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้ในหลายกรณี
คว�มเห็นและข้อเสนอ
บทบัญญัติในหมวดดังกล่าวแม้กำาหนดให้ผู้ชุมนุมแจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานถึงการ
ชุมนุมเป็นการล่วงหน้า แต่หากไม่แจ้งหรือแจ้งไม่ทันก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง มีผลเป็นการ
ชุมนุมที่ไม่ชอบ จึงเป็นบทบัญญัติที่ถือเอาเรื่องการขออนุญาตเป็นหลัก เท่ากับว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำานาจ
ในการที่จะสั่งอนุญาตให้มีการชุมนุมหรือไม่อนุญาตให้มีการชุมนุม ซึ่งโดยหลักเสรีภาพในการชุมนุมนั้นไม่ใช่
การขออนุญาต จึงไม่มีความจำาเป็นต้องขออนุญาต และการชุมนุมในที่สาธารณะมักอยู่บนพื้นผิวของการจราจร
การต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีผลเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจาก
อาวุธ และโดยหลักการของการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อเจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง ควรมีวัตถุประสงค์ให้รัฐทราบว่า
จะมีการชุมนุมเพื่อให้รัฐเตรียมการในการอำานวยความสะดวกและรักษาความสงบเรียบร้อยให้แก่ประชาชน
ไม่ใช่เพื่อการขออนุญาตและควรเปิดโอกาสให้มีการแจ้งด้วยวาจาทางโทรศัพท์ หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
ทางโทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหากมีความจำาเป็นที่ไม่อาจแจ้งล่วงหน้าได้ ผู้จัดการชุมนุมต้อง
แจ้งโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น บทบัญญัติในหมวดดังกล่าวจึงไม่สอดคล้องกับหลักการส่งเสริมและ
คุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะแต่เป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว จึงไม่เป็นไปตามหลักการ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สมควรปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติในหมวดดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักการ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศฯ
๕.๑.๖ ประเด็นที่ ๖ หมวด ๓ หน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุม
ร่างมาตรา ๑๗ - ๒๐ กำาหนดหน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุมไว้หลายประการ เช่น
ผู้จัดการชุมนุมต้องอยู่ร่วมการชุมนุมสาธารณะตลอดระยะเวลาในการชุมนุม ผู้จัดการชุมนุมต้องดูแลและ
รับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ ห้ามมิให้ผู้ชุมนุมก่อให้เกิดความไม่สะดวก
ของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือทำาให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนเกินที่พึงคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามปกติ
และเหตุอันควร ห้ามผู้ชุมนุมปราศรัยหรือทำาให้ปรากฏต่อผู้ชุมนุมด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธี อื่นใดอันเป็นการ
ยุยง ส่งเสริม ชักจูงผู้ชุมนุม ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเกลียดชัง หรืออาจทำาให้เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบและ
ปราศจากอาวุธ เป็นต้น
คว�มเห็นและข้อเสนอ
บทบัญญัติในหมวดดังกล่าวบางมาตราไม่อาจปฏิบัติได้ เช่น ผู้จัดการชุมนุมต้องอยู่ร่วม