Page 29 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 29
27
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
การชุมนุมสาธารณะตลอดระยะเวลาในการชุมนุม ผู้จัดการชุมนุมต้องดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะ
ให้เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ เนื่องจากผู้จัดการชุมนุมอาจมีภารกิจส่วนตัวที่ต้องออกนอกบริเวณที่
ชุมนุมในบางโอกาส และผู้ชุมนุมมีจำานวนมากไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง หรือกรณีห้ามผู้ชุมนุมปราศรัย หรือทำาให้
ปรากฏต่อผู้ชุมนุมด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันเป็นการยุยง ส่งเสริม ชักจูงผู้ชุมนุม ในลักษณะที่อาจ
ก่อให้เกิดความเกลียดชัง หรืออาจทำาให้เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งข้อความดังกล่าวอาจ
ก่อให้เกิดการตีความที่บิดเบือนไปจากเจตนารมณ์ของผู้พูด ซึ่งอาจทำาให้ผู้ชุมนุมต้องมีความรับผิดตามกฎหมายนี้
ดังนั้น บทบัญญัติในหมวดดังกล่าวจึงไม่สอดคล้องกับหลักการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ
เป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
รวมทั้งข้อห้ามของผู้ชุมนุมตามร่างมาตรานี้ถูกบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นแล้ว จึงไม่
จำาเป็นต้องมีบทบัญญัติที่กำาหนดหน้าที่และข้อห้ามของผู้ชุมนุมในลักษณะนี้ ควรกำาหนดเพียงให้ผู้จัดการชุมนุม
และผู้ชุมนุมปฏิบัติตามกฎหมายเพียงพอแล้ว
๕.๑.๗ ประเด็นที่ ๗ หมวด ๔ การคุ้มครองความสะดวกของประชาชนและการดูแล
การชุมนุมสาธารณะ
ร่างมาตรา ๒๑ - ๒๘ บทบัญญัติในหมวดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพ
ในการชุมนุมของประชาชนไว้หลายประการ เช่น
๑) กรณีที่ผู้ชุมนุมไม่แจ้งการชุมนุม หรือผู้รับแจ้งมีคำาสั่งห้ามการชุมนุม หรือไม่ผ่อนผัน
หรือผู้ชุมนุมไม่เลิกการชุมนุมภายในระยะเวลาที่แจ้งโดยไม่แจ้งขอขยายระยะเวลาภายในกำาหนดถือเป็นการชุมนุม
สาธารณะที่ไม่ชอบกฎหมาย เจ้าพนักงานมีอำานาจออกคำาสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม
คว�มเห็นและข้อเสนอ
บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม ไม่เป็นไปตามหลักการ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่รับรองสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพราะ
การชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ส่วนคำาสั่งให้ยกเลิกการชุมนุมต้องเป็นกรณีที่การชุมนุมนั้นกระทบต่อ
ความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัย การสาธารณสุข ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคลอื่นอย่างร้ายแรง จึงจะยกเลิกการชุมนุมได้มิใช่เพราะเหตุไม่ได้แจ้งการชุมนุม
๒) กรณีประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ควบคุมแล้วไม่ออก ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำาความผิด
ซึ่งหน้าและผู้ควบคุมสถานการณ์มีอำานาจจับ ค้น ยึด อายัด หรือรื้อถอนทรัพย์สินได้
คว�มเห็นและข้อเสนอ
การกำาหนดให้เจ้าพนักงานมีอำานาจจับ ค้น ยึด อายัด หรือรื้อถอนทรัพย์สินได้ขัดกับ
หลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่รับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และ
ทรัพย์สิน การให้อำานาจเจ้าพนักงานกระทำาต่อเนื้อตัวร่างกาย (จับกุม ค้น) หรือกระทำาต่อทรัพย์สินต้องเป็น
กรณียกเว้นเท่านั้น และต้องผ่านการวินิจฉัยตามกระบวนการยุติธรรมทางศาล