Page 27 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 27

25
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                             ๕.๑.๓  ประเด็นที่ ๓ หมวด ๑ บททั่วไป

                                    ๑) ร่างมาตรา ๗  กำาหนดให้การชุมนุมที่มีการขัดขวางหรือกีดขวางมิให้ประชาชน

                  ใช้ทางหลวงหรือทางสาธารณะได้ตามปกติโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำาให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
                  เกินสมควรที่พึงคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร หรือมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
                  หรือมีการกระทำาใดๆ อันอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองไม่เป็นการชุมนุมสาธารณะโดยสงบ

                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ

                                    การชุมนุมสาธารณะที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์
                  ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  และหลักการตามรัฐธรรมนูญ
                  แห่งราชอาณาจักรไทย เพราะการชุมนุมสาธารณะเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน หากเป็นการชุมนุมโดยสงบ

                  และปราศจากอาวุธ  ดังนั้น ควรใช้ร่างเดิมที่ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรที่กำาหนดว่า การใช้สิทธิและ
                  เสรีภาพของผู้ชุมนุมในระหว่างการชุมนุมสาธารณะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติ

                  แห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งจะเป็นไปตามหลักการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  ปฏิญญาสากล
                  ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองรับรองมากกว่า

                                    ๒) ร่างมาตรา ๘ - ๙ กำาหนดพื้นที่ห้ามชุมนุม และสถานที่ซึ่งการชุมนุมต้องไม่กีดขวาง
                  ทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงาน โดยสถานที่ดังกล่าวรัฐมนตรีอาจประกาศกำาหนดเพิ่มเติมในภายหลังได้

                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                    บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำาหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกินสมควร รวมทั้งให้ดุลพินิจ

                  แก่รัฐมนตรีมากเกินไป และรัฐสภา ทำาเนียบรัฐบาล และศาลไม่ควรบัญญัติอยู่ในมาตราเดียวกับสถานที่ประทับ
                  ผลของบทบัญญัติทำาให้ไม่มีพื้นที่ในการชุมนุม เท่ากับเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ

                  และปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการชุมนุมของประชาชน  ดังนั้น ควรใช้ร่างเดิม
                  ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นไปตามหลักการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปฏิญญาสากล
                  ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองรับรองมากกว่า


                             ๕.๑.๔  ประเด็นที่ ๔ เวลาห้ามชุมนุมหรือเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุม
                                    ร่างมาตรา ๑๐ กำาหนดห้ามมิให้ปราศรัย หรือจัดกิจกรรมในการชุมนุมสาธารณะในระหว่าง

                  เวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา จนถึงเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น รวมทั้งห้ามเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุม
                  ในเวลากลางคืน

                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ

                                    ตามสถานการณ์ที่เป็นจริงและธรรมชาติการชุมนุมสาธารณะที่ผ่านมา เนื่องจากในระหว่าง
                  เวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป เป็นช่วงที่ผู้ชุมนุมเดินทางมาถึงบริเวณที่มีการชุมนุมเรียบร้อยแล้ว การปราศรัย
                  หรือจัดกิจกรรมหลังเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป  จึงเป็นไปอย่างพร้อมเพรียง  ดังนั้น  ร่างมาตรา ๑๐ จึงไม่ควร

                  ห้ามชุมนุมหลังเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป  ควรขยายเป็นเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา และอาจมีความจำาเป็นต้อง
                  มีการเดินขบวนรวมถึงการเคลื่อนย้ายการชุมนุมในเวลากลางคืน  โดยเฉพาะการรวมตัวกันจากต่างจังหวัดเพื่อ
                  เดินทางมาบริเวณที่ชุมนุม  จึงไม่ควรห้ามเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมในเวลากลางคืนอย่างเด็ดขาด

                  อย่างไรก็ตาม การชุมนุมสาธารณะดังกล่าวต้องระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำาคาญต่อผู้อื่นด้วย
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32