Page 26 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 26

24   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               ฉบับที่สำานักงานตำารวจแห่งชาติได้นำาร่างเดิมมาปรับปรุงแก้ไขขึ้นใหม่นี้  มีบทบัญญัติที่กลับเป็นการควบคุมและ

               จำากัดสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนมากกว่าการคุ้มครองและอำานวยความสะดวกให้กับประชาชน
               ในการชุมนุมสาธารณะ  คณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นสมควรมีข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยใน

               บางประเด็นได้เคยเสนอไปแล้ว โดยได้เสนอเป็นรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
               เรื่อง ข้อเสนอการตราพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
               และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔  อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้มีบทบัญญัติในร่างที่เสนอโดยสำานักงาน

               ตำารวจแห่งชาติที่แตกต่างจากร่างที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอย่างมาก  ดังนั้น เพื่อให้ร่างพระราช-
               บัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ สอดคล้องกับหลักการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน หลักการตามรัฐธรรมนูญ
               แห่งราชอาณาจักรไทย ข้อ ๒๐ แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  และข้อ ๒๑ แห่งกติการะหว่างประเทศ

               ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายฯ จึงเห็นสมควรมีข้อเสนอแนะ
               ต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้


                     ๕.๑  ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย

                           ๕.๑.๑  ประเด็นที่ ๑ ชื่อร่างพระราชบัญญัติ

                                 เนื่องจากหลักการและเหตุผลของกฎหมายดังกล่าว เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ
               ประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง ตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม

               ตลอดจนคุ้มครองไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่
               ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และการจำากัดเสรีภาพในการชุมนุม จะกระทำาได้โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติ

               แห่งกฎหมาย  โดยหน่วยงานของรัฐต้องเข้ารักษาความปลอดภัยและอำานวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุมโดยเคร่งครัด
               รอบคอบและทันเหตุการณ์ฯ  ดังนั้น ชื่อของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวควรเปลี่ยนเป็นร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
               และคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหลักการและเหตุผลของกฎหมาย


                           ๕.๑.๒  ประเด็นที่ ๒ คำานิยาม
                                 ๑) กฎหมายที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลบังคับเป็นการทั่วไป  บุคคล

               ไม่อาจอ้างความไม่รู้กฎหมาย มาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดทางกฎหมาย  ดังนั้น กฎหมายที่ตราขึ้นจึงไม่ควร
               มีความซับซ้อน ควรหลีกเลี่ยงการบัญญัติคำานิยามซ้อนคำานิยาม เช่น “การชุมนุมสาธารณะ” หมายความว่า
               การรวมตัวกันของบุคคลในที่สาธารณะฯ  และนำาเอาคำาว่า “ที่สาธารณะ” มากำาหนดนิยามว่าหมายถึง ทางหลวง

               และทางสาธารณะ  และนำาเอาคำาว่า “ทางหลวง” และ “ทางสาธารณะ” มากำาหนดนิยามว่า “ทางหลวง”
                                                                                                ้
               หมายถึง ทางหลวงตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง และ “ทางสาธารณะ” หมายถึง ทางบกหรือทางนำาสำาหรับ
               ประชาชนใช้ในการจราจร

                                 ๒) “ผู้จัดการชุมนุม” ควรหมายถึง ผู้ริเริ่มจัดให้มีการชุมนุมสาธารณะเท่านั้น ไม่ควร

               ครอบคลุมถึงผู้เชิญชวนหรือผู้นัดหมายให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุม  เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กำาหนดให้
               “ผู้จัดการชุมนุม”  มีหน้าที่และความรับผิดในหลายมาตรา จึงไม่ควรรวมบุคคลที่เป็นเพียงผู้สนับสนุนช่วยเหลือ
               ผู้ริเริ่มจัดให้มีการชุมนุม ผู้ขออนุญาตใช้สถานที่หรือเครื่องขยายเสียงหรือขอให้ทางราชการอำานวยความสะดวก

               ในการชุมนุมเป็นผู้จัดการชุมนุมด้วย
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31