Page 25 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 25
23
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ปรับแก้ตามในบางประเด็น ในการทำาข้อเสนอแนะครั้งนี้ คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอยืนยันข้อเสนอแนะตามรายงานผลการพิจารณาฯ ซึ่งได้เคยเสนอต่อรัฐสภาและ
คณะรัฐมนตรี
๔. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมสาธารณะ
๔.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๔.๒ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๔.๓ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๔.๔ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
๔.๕ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
๔.๖ พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕
๔.๗ พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๔.๘ พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
พ.ศ. ๒๕๓๕
๔.๙ พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓
๔.๑๐ พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
๔.๑๑ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗
๔.๑๒ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
๔.๑๓ ประมวลกฎหมายอาญา
๔.๑๔ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
๕. ความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบาย
และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้ศึกษาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะทุกฉบับที่ได้มีการยกร่างขึ้นแล้ว
เห็นควรยืนยันความเห็นเดิมโดยเห็นว่า การชุมนุมสาธารณะโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นสิทธิและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน รวมถึง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง การที่รัฐจะออกกฎหมาย
เพื่อใช้บังคับกับการชุมนุมต้องเป็นกรณีที่รัฐมีวัตถุประสงค์ที่จะอำานวยความสะดวกและคุ้มครองประชาชน
ในการชุมนุม การออกกฎหมายจำากัดสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมต้องเป็นข้อยกเว้นและทำาได้เพียงเท่าที่จำาเป็น
เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของ
ประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น แต่ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....